วันศุกร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม




ปรัชญา ปณิธาน วิสัยทัศน์ พันธกิจ และยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาลัยการเมืองการปกครอง

> ปรัชญา
ผู้มีปัญญา พึงเป็นอยู่เพื่อมหาชน (พหูนํ ปณฺฑิโต ชีเว)

> ปณิธาน
บัณฑิตวิทยาลัยการเมืองการปกครองต้องเป็น ผู้รอบรู้ คิดเป็น ทำเป็น เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง และบริการทางวิชาการสู่สังคม

> วิสัยทัศน์
มุ่งสู่การเป็นแหล่งเรียนรู้ชั้นนำทั้งในระดับภาค ระดับชาติ และระดับนานาชาติทางรัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ กระบวนการยุติธรรม และสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง

> ค่านิยมร่วมองค์กร (Shared Values)
C - Creativity ความคิดสร้างสรรค์
O - Optimization ความมีประโยชน์คุ้มค่า
P - Prestige ความมีเกียรติภูมิ
A - Ability ความสามารถ
G - Generosity ความมีน้ำใจ

> พันธกิจ
1. มุ่งผลิตบัณฑิตและพัฒนาบุคลากรที่มีคุณภาพทั้งด้านความรู้ ด้านความสามารถ และด้านคุณธรรม
2. สร้างงานวิจัยที่มีคุณภาพเพื่อสร้างองค์ความรู้ภายใต้บริบทระดับภูมิภาค ระดับชาติ และระดับนานาชาติ
3. ให้บริการวิชาการต่อสังคม เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนและสังคม
4. ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมในระดับชุมชน ท้องถิ่น เพื่อรักษาประเพณีและค่านิยม อันดีงาม

> ประวัติวิทยาลัยการเมืองการปกครอง
วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นหน่วยงานที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 โดยการผนวกภาควิชารัฐศาสตร์ ศูนย์ข้อมูลการเมืองท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และโครงการจัดตั้งหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต ซึ่งสังกัดอยู่ในคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์เข้าด้วยกัน
วิทยาลัยการเมืองการปกครองได้ดำเนินงานตามพันธกิจด้านการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมนับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจนถึงปัจจุบัน โดยวิทยาลัยการเมืองการปกครองได้วางรากฐานทางปัญญาอย่างต่อเนื่องผ่านการจัดตั้งโครงการความร่วมมือต่างๆ ที่เน้นการเสริมสร้างความรู้คู่คุณธรรมและการทำงานเพื่อส่วนรวม อาทิ โครงการลงชุมชนของนิสิต โครงการติวนิสิต (Copag Tutor) โครงการให้นิสิตริเริ่มทำกิจการ (Copag Creative) โครงการสร้างวิทยาลัยสีเขียว (Copag Green) ตลอดจนได้จัด Copag Open House และ Copag Open Book เพื่อเปิดบ้านวิทยาลัยให้บุคคลภายนอกได้ทราบกิจกรรมต่าง ๆ ของวิทยาลัย รวมทั้งการทำความตกลงกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น องค์การบริหารส่วนตำบลวังแสง เพื่อทำกิจกรรมร่วมกันนอกจากนี้ วิทยาลัยการเมืองการปกครองได้ทำข้อตกลงร่วมมือทางวิชาการกับสถาบันต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อพัฒนาความรู้ทางวิชาการ เช่น คณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว ผู้แทนจากลักแซมเบิร์ก คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล องค์กรพัฒนาเอกชนทางด้านกฎหมาย (BABSEA CLE Foundation Thailand) เรือนจำจังหวัดมหาสารคาม เพื่อร่วมมือทางวิชาการ แลกเปลี่ยนนิสิต อาจารย์ และผู้เชี่ยวชาญ เป็นต้น

> หลักสูตรที่เปิดสอน
ระดับปริญญาตรี
>1.) รัฐศาสตรบัณฑิต ( ร.บ.) วิชาเอก
>>1.1 การเมืองการปกครอง
>>1.2 รัฐประศาสนศาสตร์
>>1.3 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
>2.) นิติศาสตรบัณฑิต (น.บ.)
>3.) หลักสูตรคู่ขนาน 5 ปี คือ นิติศาสตรบัณฑิตและศิลปศาสตรบัณฑิต (สิทธิมนุษยชนศึกษา)
>>>นบ. และศศ.บ. (สิทธิมนุษยชนศึกษา)
>4.) รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต (การปกครองท้องถิ่น) : รป.บ. (การปกครองท้องถิ่น)

ระดับปริญญาโท
>1.) รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (นโยบายสาธารณะ) : รป.ม. (นโยบายสาธารณะ)
>2.) รัฐศาสตรมหาบัณฑิต (การเมืองการปกครอง) : ร.ม. (การเมืองการปกครอง)

> ศูนย์บริการทางวิชาการต่างๆ ภายในวิทยาลัยการเมืองการปกครอง
1.) ศูนย์ศึกษาการเมืองท้องถิ่นอีสาน
2.) ศูนย์ศึกษาสิทธิมนุษยชนและสันติวิธี
3.) คลินิกนิติศาสตร์ (ศูนย์ให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย)
4.) คลินิกรัฐศาสตร์
5.) ศูนย์ฝึกอบรมหลักสูตรพิเศษ
6.) ห้องสมุด


รัฐชาติ





รัฐชาติ (อังกฤษ: nation state) หรือเดิมเรียก รัฐประชาชาติ (อังกฤษ: national state) เป็นรูปแบบหนึ่งอันแน่นนอนของหน่วยการปกครองระดับประเทศในปัจจุบัน เป็นมโนทัศน์ทางรัฐศาสตร์ที่กำหนดว่าประเทศนั้นมีองค์ประกอบสามประการ คือ มีประชากรแน่นอน มีดินแดนแน่นอน และมีรัฐบาลหรือมีอำนาจอธิปัตย์แน่นอนเป็นของตนเอง ซึ่งเป็นมโนทัศน์ที่จำแนกประเทศในอดีตออกจากประเทศในปัจจุบัน เนื่องจากในอดีตนั้นมโนทัศน์เช่นนี้หามีความแน่นอนไม่ อาทิ ประเทศไทยเองที่เดิมมิได้มีอาณาเขตแน่นอน ขยายออกหรือหดเข้าได้ตามอำนาจของพระมหากษัตริย์แต่ละรัชกาล กับทั้งประชากรก็ไม่แน่นอน ในยามชนะสงครามมักมีการอพยพเทครัวชนชาติอื่นเข้ามาในแว่นแคว้นของตัว เป็นต้น เนื่องจากความหลากความหมายของคำ "รัฐ" เช่น รัฐในสหรัฐอเมริกาที่มีระดับเป็นหน่วยการปกครองย่อย ๆ จึงมีการประดิษฐ์คำ "รัฐชาติ" ขึ้นให้หมายถึงประเทศที่เป็นหน่วยการปกครองใหญ่ดังมีองค์ประกอบข้างต้นเท่านั้น

เพลงรักเมืองไทย

"สามัคคีประเทศไทย"

การบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบ Comparative Public Administration - CPA..





CPA. คือ สาขาวิชาหนึ่งที่ศึกษาเกี่ยวกับการบริหาร และระบบบริหารของประเทศต่าง ๆ ในเชิงเปรียบเทียบ โดยการพยายามนำเอาแนวความคิด และทฤษฎีทาง รปศ. ไปปรับใช้ในโลกแห่งความเป็นจริง หรือประเทศในโลกที่สามารถ
CPA. คือการศึกษาการบริหารของประเทศด้อยพัฒนา โดยนักวิชาการตะวันตก

วัตถุประสงค์

- เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของระบบบริหาร หรือระบบราชการในประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะประเทศด้อยพัฒนา
- เพื่อหาลักษณะร่วม หรือลักษณะสากลที่จะนำไปสู่การสร้างทฤษฎีหรือศาสตร์ที่ว่าการบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบ

แนวทางการศึกษาการบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบ มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไป ดังนี้

1. มุ่งเน้นศึกษาถึงความคล้าย คลึงและความแตกต่างระหว่าง ระบบการบริหารราชการ ประสิทธิภาพการบริหารงานของประเทศต่างๆในประเทศโลกที่สาม และพยายามที่จะนำแนวคิด ทฤษฎีทาง ร.ป.ศ.ไปปรับใช้ในประเทศด้อยพัฒนาเพื่อให้ประเทศเหล่านั้นมีระบบการบริหารที่ทันสมัย แต่ผลที่ได้รับไม่เป็นไปตามที่คาดไว้
2. แนวทางการศึกษาจึงปรับเปลี่ยนไปที่ปัญหาที่เกิดขึ้นในประเทศโลกที่สาม โดยเฉพาะปัญหาการนำนโยบาย แผนงาน โครงการต่างๆที่กำหนดไว้ออกไปปฏิบัติให้บรรลุผล
3. มุ่งเน้นที่การบริหารการพัฒนาแนวใหม่ เพื่อให้การพัฒนาประเทศด้อยพัฒนาบังเกิดผล และสร้างความเป็นธรรมในสังคม

พัฒนาการและภูมิหลังของการศึกษาการบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบ

- แนวคิด CPA มีภูมิหลังมาจากนโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่2
- เปรียบเสมือนสินค้าส่งออกชนิดหนึ่งของอเมริกาที่ผลิตแล้วส่งออกไปขายในประเทศโลกที่สาม หลัง W.W.II

สรุป พัฒนาการศึกษา CPA. เริ่มต้นในสหรัฐอเมริกาในช่วงหลัง W.W.II

นโยบายต่างประเทศของอเมริกาที่ใช้นับตั้งแต่ช่วงW.W.II-1970

ยุคแรก ค.ศ.1943 - 1948 เป็นยุคแห่งการฟื้นฟูภายหลัง W.W.II ในเกาหลี ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ ยุโรป

เป้าหมาย สร้างสังคมของประเทศเหล่านั้นให้มีลักษณะรูปแบบให้เหมือนสังคมอเมริกันในทุกด้าน
ช่วงที่ 2 ค.ศ.1949 - 1960 เป็นยุคแห่งการสกัดกั้นการแพร่ขยายอิทธิพลของลัทธิคอมมิวนิสต์ และการปกป้องเขตอิทธิพลของสหรัฐ “ยุคสงครามเย็น”
ยุทธวิธี การสร้างพันธมิตรทางทหาร กับประเทศโลกเสรี และให้ความช่วยเหลือทางด้านเศรษฐกิจกับประเทศพันธมิตร

เป้าหมาย เพื่อให้ประเทศต่าง ๆ เหล่านั้นมีการพัฒนาการปกครองไปสู่ระบอบ
ประชาธิปไตย

แนวคิด การพัฒนาระบบบริหาร หรือระบบราชการในประเทศโลกที่สามให้มีขีดความ
สามารถเพิ่มขึ้น เพื่อจะได้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาประเทศต่อไป
ช่วงที่ 3 ค.ศ.1961 - 1972 ยุคแห่งการเผยแพร่อิทธิพลของสหรัฐอเมริกาไปยังประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก
ยุทธวิธี เปลี่ยนแปลงนโยบายการให้ความช่วยเหลือประเทศต่าง ๆ จากการเน้น
“ความมั่นคง” การต่อต้านคอมมิวนิสต์มาสู่การพัฒนาและการเปลี่ยนแปลง “สังคม”
แนวคิด เปลี่ยนแปลงสังคมของประเทศโลกที่สามให้เป็นเหมือนสังคมอเมริกัน ทั้งในเชิงรูป
แบบโครงสร้างและสร้างสถาบันต่าง ๆ ขึ้นมารองรับ
ผลลัพธ์ ทำให้เกิดอุดมการณ์แห่งการพัฒนา (developmentism) ขึ้นมาเป็นอุดมการณ์
ใหม่ของโลก

อุดมการณ์พัฒนาที่ครอบงำผู้นำในประเทศโลกที่สามคือ

“ประเทศยากจนทั้งหลายในโลกที่สามจะสามารถพัฒนาประเทศของตนให้เจริญก้าวหน้าทัดเทียมกับประเทศพัฒนาได้ โดยมีมรรควิธีและเป้าหมายที่สำคัญคือ “ต้องเปลี่ยนสังคมของตนให้เป็นเหมือนประเทศที่เจริญแล้วคือเป็น “สังคมอุตสาหกรรม” ด้วยการเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมและการลงทุนจากต่างประเทศ เพื่อความเจริญเติบโตในทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว”
แนวทางการศึกษาเปรียบเทียบที่นักวิชาการเสนอมี 2 แนวทางคือ

แนวทางแรก กลุ่มการศึกษาการเมืองเปรียบเทียบ (Comparative Politics) นำโดย Gabriel Almond
แนวคิด การศึกษาการเมืองประเทศในโลกที่สามต้องสนใจ ในเรื่อง พฤติกรรมทางการเมือง
ค่านิยม และวัฒนธรรมทางการเมือง ไม่ใช่มุ่งเน้นศึกษาเรื่อง รัฐ-ชาติ อำนาจรัฐ สถาบันการเมือง
ความเชื่อ สังคมประเทศโลกที่สามมีความด้อยพัฒนาอย่างมากเมื่อเทียบกับตะวันตก วิธี
การแก้ไขคือ ต้องพัฒนาการเมืองในประเทศเหล่านั้นโดยการลอกเลียนแบบจากประเทศตะวันตก

แนวทางที่สอง กลุ่มบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบ (Comparative Public Administration)

แนวคิด ระบบบริหารของประเทศในโลกที่สามเป็นระบบที่ไม่มีประสิทธิภาพ ทำงานไม่ได้

ผล เมื่อเปรียบเทียบกับในประเทศตะวันตก

ความเชื่อ ต้องพัฒนาและปรับปรุงระบบการบริหารของประเทศโลกที่สามให้ “ทันสมัย”
- ต้องสร้างสถาบันทางการบริหารใหม่ ๆ ขึ้นมาในประเทศโลกที่สาม เพื่อเป็นกลไก
ในการพัฒนา

กรมการปกครอง




กรมการปกครอง เป็นหน่วยงานสังกัดกระทรวงมหาดไทย ดำเนินงานเกี่ยวกับการรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงภายใน การบริหารการปกครองท้องที่ในระดับอำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน การดำเนินการและพัฒนาระบบงานทะเบียนราษฎร และการขออนุญาตต่างๆ ตามกฎหมาย

ประวัติ

กรมการปกครองเป็นหน่วยงานในกระทรวงมหาดไทย ที่ก่อตั้งมาพร้อมกับกระทรวงมหาดไทยในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2435 โดยกรมการปกครองในสมัยนั้นมีชื่อว่า "กรมพลำภัง" หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยแล้วในปี พ.ศ. 2476 กรมพลำภังได้เปลี่ยนชื่อเป็น กรมมหาดไทย ต่อมาในปี พ.ศ. 2505 จึงเปลี่ยนมาใช้ชื่อ "กรมการปกครอง"จนถึงปัจจุบัน

กรมการปกครองตั้งอยู่ที่ ถนนอัษฎางค์ แขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200

อำนาจและหน้าที่

1. เสนอแนะนโยบายและจัดทำแผน มาตรการ ติดตาม และประเมินผลด้านการรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงภายใน
2. ดำเนินการเกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงภายใน งานการข่าว งานกิจการชายแดน งานควบคุมดูแลชาวเขาและชนกลุ่มน้อย ผู้อพยพและผู้หลบหนีเข้าเมือง งานสัญชาติ และงานกิจการมวลชน
3. สนับสนุน ส่งเสริมการปกครองในระบอบประชาธิปไตย และการเลือกตั้งทุกระดับ
4. ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยกองอาสารักษาดินแดน
5. ดำเนินการพัฒนาและบริหารการปกครองท้องที่ในระดับอำเภอ กิ่งอำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน ตามกฎหมาย ว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่
6. ดำเนินการและพัฒนาระบบงานทะเบียนราษฎร งานบัตรประจำตัวประชาชน และงานทะเบียนอื่น รวมทั้ง การบริหารจัดการฐานข้อมูลกลางเพื่อการใช้ประโยชน์ร่วมกันทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
7. ดำเนินการพัฒนาบุคลากรในด้านการรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงภายใน
8. ดำเนินการสื่อสารเพื่อการบริหารงาน การรักษาความสงบเรียบร้อย และความมั่นคงภายในประเทศ
9. อำนวยการและสนับสนุนการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของนายอำเภอ
10.ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรมหรือตามที่กระทรวงหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
11.ดำเนินการเกี่ยวกับการรักษาความสงบเรียบร้อย สืบสวนสอบสวนคดีอาญาในหน้าที่พนักงานฝ่ายปกครอง และอำนวยความเป็นธรรมให้แก่ประชาชน

แผนยุทธ์ศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย





จากกรอบแนวคิด และสาระสำคัญของการปฏิรูประบบราชการไทยคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ( ก.พ.ร.) ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2545 ได้เสนอแผนยุทธ์ศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย พ.ศ. 2546-2550 ให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ความเห็นชอบแผนยุทธ์ศาสตร์ดังกล่าวแล้ว เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2546 โดยแผนยุทธ์ศาสตร์ดังกล่าวมีเนื้อหาโดยสรุปดังนี้

1. วิสัยทัศน์ “พัฒนาระบบราชการไทยให้มีความเป็นเลิศ สามารถรองรับกับการพัฒนาประเทศในยุคโลกาภิวัฒน์ โดยยึดหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีและประโยชน์สุดของประชาชน”

2. เป้าประสงค์หลักของการพัฒนาระบบราชการ
(1) พัฒนาคุณภาพการให้บริการประชาชนที่ดีขึ้น ( Better Service Quality)
(2) ปรับบทบาท ภารกิจ และขนาดให้มีความเหมาะสม ( Rightsizing)
(3) ยกระดับขีดความสามารถและมาตราฐานการทำงานให้อยู่ในระดับสูงและเทียบเท่าเกณฑ์สากล ( High Performance) และ
(4) ตอบสนองต่อการบริหารการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ( Democratic Governance)

3. ยุทธ์ศาสตร์การพัฒนาระบบราชการ

ยุทธ์ศาสตร์ที่ 1 : การปรับเปลี่ยนกระบวนการและวิธีการทำงาน
(1) นำระบบการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์มาประยุกต์ใช้อย่างจริงจังโดยให้มีการจัดทำแผนยุทธ์ศาสาตร์และแผนดำเนินงานอย่างเป็นระบบ
(2) ให้ส่วนราชการกำหนดเป้าหมายในการเพิ่มปนะสิทธภาพและยกระดับคุณภาพมาตราฐานในการให้บริการและการพัฒนาองค์การ
(3) ปรับเปลี่ยนระบบการควบคุมภายในส่วนของราชการให้มีความทันสมัยมากขึ้น โดยเฉพาะการควบคุมก่อนดำเนินงาน และการควบคุมภายหลักการดำเนินงาน
(4) ปรับปรุงระบบการประเมินผลการดำเนินงาน โดยจัดให้มัการเจรจาและทำข้อตกลงว่าด้วยผลงานประจำปีให้สอดรับกับแผนยุทธ์ศาสตร์และแผนดำเนินงานรายปี รวมทั้งให้มีการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามข้อตกลงดังกล่าวสิ้นทุกปี และถือเป็นเงื่อนไขส่วนหนึ่งของการให้แก่รางวัลประจำแก่ส่วนราชการ
(5) ให้มีการทบทวนแผนยุทธ์ศาสตร์และแผนดำเนินงาน/โครงการต่างๆอย่างเป็นระบบและสม่ำเสมอ เพื่อนำมาปรับปรุงให้สอดรับกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปและจัดลำดับความสำคัญของการจัดสรรทรัพย์ยากรให้มีความเหมาะสมมากขึ้น
(6) ในการกำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และตัวชี้วัด ของแผนยุทธ์ศาสตร์และแผนดำเนินงาน การจัดทำข้อตกลงว่าด้วยผลงาน รวมถึงการทบทวนติดตามและประเมินผลนั้น ให้มีกระบวนการปรึกษาหารีอ การสำรวจและรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และ/หรือการเปิดให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมโดยตรง
(7) ให้แต่ละส่วนราชการเสนอแผนในการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายและระเบียบปฏิบัติของการทางราชการที่ล้าสมัย ไม่มีความจำเป็น หรืออาจเป็นอุปสรรคต่อการให้บริการประชาชน โดยเฉพาะการมอบอำนาจการอนุมัติ อนุญาต และการสั่งการต่างๆให้เสร็จสิ้น ณ จุดให้บริการเดียวกัน
(8) วางกติกาเพื่อให้มีการแข่งขันขึ้น โดยพยายามลดการผูกขาดหน่วยงานราชการในการเป็นผู้ให้บริการสาธาณะเองลง และเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนหรือองค์กรพัฒนาไม่แสวงหากำไรและองค์กรประชาสังคมสามารถคัดคานและเข้ามาดำเนินการแข่งขันได้
(9) ให้มีการจัดแนวทางและคู่มือการบริหารราชการที่ดี เพื่อใช้ประกอบในการชี้แจงทำความเข้าใจ เผยแผ่และฝึกอบรม และให้คำปรึกษา แนะนำแก่ส่วนราชการต่างๆ รวมถึงการใช้ประโยชน์ในฐานะเป็นเครื่องมือในการประเมินตนเอง ( Self-assessment) ของผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน

ยุทธ์ศาสตร์ที่ 2 :การปรับปรุงโครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดิน
(1) มุ่งเน้นการจัดระเบียบโครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดินในเชิงบูรณาการครอบคลุมทั้งในส่วนของการวางยุทธ์ศาสตร์และการนำยุทธ์ศาสตร์ไปปฏิบัติโดยจัดให้มีกลไกแระสานการทำงานร่วมกัน เพื่อให้สามารถเชื่อมโยงการทำงานในแนวดิ่งและแนวนอน ได้อย่างมีประสิทธิผล
(2) ให้มีการทบทวนการจัดโครงสร้างองค์กรของกระทรวง ทบวง ต่างๆ ให้มีความเหมาะสมมากขึ้น เพื่อรองรับกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปและยุทธ์ศาสตร์การปฏิบัติงาน รวมถึงพยายามปรับรูปแบบการทำงานให้มีความยืดหยุ่นคล่องตัว
(3) ทบทวนปรับปรุงโครงสร้าง และพัฒนาระบบรูปแบบการบริการราชการส่วนภูมิภาค เพื่อให้จังหวัดเป็นองค์กรที่มีสมรรถนะสูง สามารถนำวาระแห่งชาติและนโยบายของรัฐบาลไปปฏิบัติให้เกิดสัมฤทธิ์ผล แก้ไขปัญหาและพัฒนาในระดับพื้นที่อย่างมีบูรณาการควบคู่ไปพร้อมกับการพัฒนาระบบการบริหารจักการอำเภอเพื่อให้เป็นจุดรวม ( Out-let) ให้บริการแก่ประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีแนวทางการดำเนินการหลัก อาทิเช่น
- ปรับปรุงการจัดโครงสร้างภายในจังหวัด/อำเภอใหม่ให้ในรูปแบบที่หลากหลาย เพื่อให้แต่ละจังหวัดมีการจัดโครงสร้างหน่วยงานภายในจังหวัดมีการจัดโครงส้างหน่วยงานภายในจังหวัด/อำเภอที่สอดคล้องกับสภาพพื้นที่พันธ์กิจ และการสภาพปํญหาและสามารถตอบสนองความต้องการของชุมชนและประชาชนในท้องถิ่น
- ปรับปรุงการบริหารจัดการระดับแนวใหม่ เป็นการบริหารเชิงกลยุทธ์ มุ่งสู่อนาคต ครบวงจร และฉับไวต่อปัญหาและการเปลี่ยนแปลง โดยมีแนวคิด ยึดพื้นที่พันธกิจ และมีการส่วนรวมเป็นหลักรวมทั้งปรับปรุงระบบการบริหารแบบบูรณาการที่มีการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี เป็นวิธีการบริหารหลักขยายการบริหารแบบบูรณาการให้ครบทุกจังหวัดทั่วประเทศ
- ทบทวนการจัดตั้งหน่วยงานของส่วนกลางในระดับจังหวัดให้มีเท่าที่จำเป็นและตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อให้จังหวัดเป็นองค์การตัวแทนของรัฐบาลที่เป็นศูนย์รวม กิจกรรมที่หลากหลายของกระทรวงต่างๆของส่วนกลาง และรัฐวิสาหกิจ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จะตอบสนองต่อการบริหารแบบบูรณาการ