วันศุกร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

แผนยุทธ์ศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย





จากกรอบแนวคิด และสาระสำคัญของการปฏิรูประบบราชการไทยคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ( ก.พ.ร.) ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2545 ได้เสนอแผนยุทธ์ศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย พ.ศ. 2546-2550 ให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ความเห็นชอบแผนยุทธ์ศาสตร์ดังกล่าวแล้ว เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2546 โดยแผนยุทธ์ศาสตร์ดังกล่าวมีเนื้อหาโดยสรุปดังนี้

1. วิสัยทัศน์ “พัฒนาระบบราชการไทยให้มีความเป็นเลิศ สามารถรองรับกับการพัฒนาประเทศในยุคโลกาภิวัฒน์ โดยยึดหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีและประโยชน์สุดของประชาชน”

2. เป้าประสงค์หลักของการพัฒนาระบบราชการ
(1) พัฒนาคุณภาพการให้บริการประชาชนที่ดีขึ้น ( Better Service Quality)
(2) ปรับบทบาท ภารกิจ และขนาดให้มีความเหมาะสม ( Rightsizing)
(3) ยกระดับขีดความสามารถและมาตราฐานการทำงานให้อยู่ในระดับสูงและเทียบเท่าเกณฑ์สากล ( High Performance) และ
(4) ตอบสนองต่อการบริหารการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ( Democratic Governance)

3. ยุทธ์ศาสตร์การพัฒนาระบบราชการ

ยุทธ์ศาสตร์ที่ 1 : การปรับเปลี่ยนกระบวนการและวิธีการทำงาน
(1) นำระบบการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์มาประยุกต์ใช้อย่างจริงจังโดยให้มีการจัดทำแผนยุทธ์ศาสาตร์และแผนดำเนินงานอย่างเป็นระบบ
(2) ให้ส่วนราชการกำหนดเป้าหมายในการเพิ่มปนะสิทธภาพและยกระดับคุณภาพมาตราฐานในการให้บริการและการพัฒนาองค์การ
(3) ปรับเปลี่ยนระบบการควบคุมภายในส่วนของราชการให้มีความทันสมัยมากขึ้น โดยเฉพาะการควบคุมก่อนดำเนินงาน และการควบคุมภายหลักการดำเนินงาน
(4) ปรับปรุงระบบการประเมินผลการดำเนินงาน โดยจัดให้มัการเจรจาและทำข้อตกลงว่าด้วยผลงานประจำปีให้สอดรับกับแผนยุทธ์ศาสตร์และแผนดำเนินงานรายปี รวมทั้งให้มีการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามข้อตกลงดังกล่าวสิ้นทุกปี และถือเป็นเงื่อนไขส่วนหนึ่งของการให้แก่รางวัลประจำแก่ส่วนราชการ
(5) ให้มีการทบทวนแผนยุทธ์ศาสตร์และแผนดำเนินงาน/โครงการต่างๆอย่างเป็นระบบและสม่ำเสมอ เพื่อนำมาปรับปรุงให้สอดรับกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปและจัดลำดับความสำคัญของการจัดสรรทรัพย์ยากรให้มีความเหมาะสมมากขึ้น
(6) ในการกำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และตัวชี้วัด ของแผนยุทธ์ศาสตร์และแผนดำเนินงาน การจัดทำข้อตกลงว่าด้วยผลงาน รวมถึงการทบทวนติดตามและประเมินผลนั้น ให้มีกระบวนการปรึกษาหารีอ การสำรวจและรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และ/หรือการเปิดให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมโดยตรง
(7) ให้แต่ละส่วนราชการเสนอแผนในการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายและระเบียบปฏิบัติของการทางราชการที่ล้าสมัย ไม่มีความจำเป็น หรืออาจเป็นอุปสรรคต่อการให้บริการประชาชน โดยเฉพาะการมอบอำนาจการอนุมัติ อนุญาต และการสั่งการต่างๆให้เสร็จสิ้น ณ จุดให้บริการเดียวกัน
(8) วางกติกาเพื่อให้มีการแข่งขันขึ้น โดยพยายามลดการผูกขาดหน่วยงานราชการในการเป็นผู้ให้บริการสาธาณะเองลง และเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนหรือองค์กรพัฒนาไม่แสวงหากำไรและองค์กรประชาสังคมสามารถคัดคานและเข้ามาดำเนินการแข่งขันได้
(9) ให้มีการจัดแนวทางและคู่มือการบริหารราชการที่ดี เพื่อใช้ประกอบในการชี้แจงทำความเข้าใจ เผยแผ่และฝึกอบรม และให้คำปรึกษา แนะนำแก่ส่วนราชการต่างๆ รวมถึงการใช้ประโยชน์ในฐานะเป็นเครื่องมือในการประเมินตนเอง ( Self-assessment) ของผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน

ยุทธ์ศาสตร์ที่ 2 :การปรับปรุงโครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดิน
(1) มุ่งเน้นการจัดระเบียบโครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดินในเชิงบูรณาการครอบคลุมทั้งในส่วนของการวางยุทธ์ศาสตร์และการนำยุทธ์ศาสตร์ไปปฏิบัติโดยจัดให้มีกลไกแระสานการทำงานร่วมกัน เพื่อให้สามารถเชื่อมโยงการทำงานในแนวดิ่งและแนวนอน ได้อย่างมีประสิทธิผล
(2) ให้มีการทบทวนการจัดโครงสร้างองค์กรของกระทรวง ทบวง ต่างๆ ให้มีความเหมาะสมมากขึ้น เพื่อรองรับกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปและยุทธ์ศาสตร์การปฏิบัติงาน รวมถึงพยายามปรับรูปแบบการทำงานให้มีความยืดหยุ่นคล่องตัว
(3) ทบทวนปรับปรุงโครงสร้าง และพัฒนาระบบรูปแบบการบริการราชการส่วนภูมิภาค เพื่อให้จังหวัดเป็นองค์กรที่มีสมรรถนะสูง สามารถนำวาระแห่งชาติและนโยบายของรัฐบาลไปปฏิบัติให้เกิดสัมฤทธิ์ผล แก้ไขปัญหาและพัฒนาในระดับพื้นที่อย่างมีบูรณาการควบคู่ไปพร้อมกับการพัฒนาระบบการบริหารจักการอำเภอเพื่อให้เป็นจุดรวม ( Out-let) ให้บริการแก่ประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีแนวทางการดำเนินการหลัก อาทิเช่น
- ปรับปรุงการจัดโครงสร้างภายในจังหวัด/อำเภอใหม่ให้ในรูปแบบที่หลากหลาย เพื่อให้แต่ละจังหวัดมีการจัดโครงสร้างหน่วยงานภายในจังหวัดมีการจัดโครงส้างหน่วยงานภายในจังหวัด/อำเภอที่สอดคล้องกับสภาพพื้นที่พันธ์กิจ และการสภาพปํญหาและสามารถตอบสนองความต้องการของชุมชนและประชาชนในท้องถิ่น
- ปรับปรุงการบริหารจัดการระดับแนวใหม่ เป็นการบริหารเชิงกลยุทธ์ มุ่งสู่อนาคต ครบวงจร และฉับไวต่อปัญหาและการเปลี่ยนแปลง โดยมีแนวคิด ยึดพื้นที่พันธกิจ และมีการส่วนรวมเป็นหลักรวมทั้งปรับปรุงระบบการบริหารแบบบูรณาการที่มีการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี เป็นวิธีการบริหารหลักขยายการบริหารแบบบูรณาการให้ครบทุกจังหวัดทั่วประเทศ
- ทบทวนการจัดตั้งหน่วยงานของส่วนกลางในระดับจังหวัดให้มีเท่าที่จำเป็นและตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อให้จังหวัดเป็นองค์การตัวแทนของรัฐบาลที่เป็นศูนย์รวม กิจกรรมที่หลากหลายของกระทรวงต่างๆของส่วนกลาง และรัฐวิสาหกิจ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จะตอบสนองต่อการบริหารแบบบูรณาการ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น