วันศุกร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ปรัชญา ปณิธาน วิสัยทัศน์ พันธกิจ และยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาลัยการเมืองการปกครอง
> ปรัชญา
ผู้มีปัญญา พึงเป็นอยู่เพื่อมหาชน (พหูนํ ปณฺฑิโต ชีเว)
> ปณิธาน
บัณฑิตวิทยาลัยการเมืองการปกครองต้องเป็น ผู้รอบรู้ คิดเป็น ทำเป็น เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง และบริการทางวิชาการสู่สังคม
> วิสัยทัศน์
มุ่งสู่การเป็นแหล่งเรียนรู้ชั้นนำทั้งในระดับภาค ระดับชาติ และระดับนานาชาติทางรัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ กระบวนการยุติธรรม และสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง
> ค่านิยมร่วมองค์กร (Shared Values)
C - Creativity ความคิดสร้างสรรค์
O - Optimization ความมีประโยชน์คุ้มค่า
P - Prestige ความมีเกียรติภูมิ
A - Ability ความสามารถ
G - Generosity ความมีน้ำใจ
> พันธกิจ
1. มุ่งผลิตบัณฑิตและพัฒนาบุคลากรที่มีคุณภาพทั้งด้านความรู้ ด้านความสามารถ และด้านคุณธรรม
2. สร้างงานวิจัยที่มีคุณภาพเพื่อสร้างองค์ความรู้ภายใต้บริบทระดับภูมิภาค ระดับชาติ และระดับนานาชาติ
3. ให้บริการวิชาการต่อสังคม เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนและสังคม
4. ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมในระดับชุมชน ท้องถิ่น เพื่อรักษาประเพณีและค่านิยม อันดีงาม
> ประวัติวิทยาลัยการเมืองการปกครอง
วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นหน่วยงานที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 โดยการผนวกภาควิชารัฐศาสตร์ ศูนย์ข้อมูลการเมืองท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และโครงการจัดตั้งหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต ซึ่งสังกัดอยู่ในคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์เข้าด้วยกัน
วิทยาลัยการเมืองการปกครองได้ดำเนินงานตามพันธกิจด้านการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมนับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจนถึงปัจจุบัน โดยวิทยาลัยการเมืองการปกครองได้วางรากฐานทางปัญญาอย่างต่อเนื่องผ่านการจัดตั้งโครงการความร่วมมือต่างๆ ที่เน้นการเสริมสร้างความรู้คู่คุณธรรมและการทำงานเพื่อส่วนรวม อาทิ โครงการลงชุมชนของนิสิต โครงการติวนิสิต (Copag Tutor) โครงการให้นิสิตริเริ่มทำกิจการ (Copag Creative) โครงการสร้างวิทยาลัยสีเขียว (Copag Green) ตลอดจนได้จัด Copag Open House และ Copag Open Book เพื่อเปิดบ้านวิทยาลัยให้บุคคลภายนอกได้ทราบกิจกรรมต่าง ๆ ของวิทยาลัย รวมทั้งการทำความตกลงกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น องค์การบริหารส่วนตำบลวังแสง เพื่อทำกิจกรรมร่วมกันนอกจากนี้ วิทยาลัยการเมืองการปกครองได้ทำข้อตกลงร่วมมือทางวิชาการกับสถาบันต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อพัฒนาความรู้ทางวิชาการ เช่น คณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว ผู้แทนจากลักแซมเบิร์ก คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล องค์กรพัฒนาเอกชนทางด้านกฎหมาย (BABSEA CLE Foundation Thailand) เรือนจำจังหวัดมหาสารคาม เพื่อร่วมมือทางวิชาการ แลกเปลี่ยนนิสิต อาจารย์ และผู้เชี่ยวชาญ เป็นต้น
> หลักสูตรที่เปิดสอน
ระดับปริญญาตรี
>1.) รัฐศาสตรบัณฑิต ( ร.บ.) วิชาเอก
>>1.1 การเมืองการปกครอง
>>1.2 รัฐประศาสนศาสตร์
>>1.3 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
>2.) นิติศาสตรบัณฑิต (น.บ.)
>3.) หลักสูตรคู่ขนาน 5 ปี คือ นิติศาสตรบัณฑิตและศิลปศาสตรบัณฑิต (สิทธิมนุษยชนศึกษา)
>>>นบ. และศศ.บ. (สิทธิมนุษยชนศึกษา)
>4.) รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต (การปกครองท้องถิ่น) : รป.บ. (การปกครองท้องถิ่น)
ระดับปริญญาโท
>1.) รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (นโยบายสาธารณะ) : รป.ม. (นโยบายสาธารณะ)
>2.) รัฐศาสตรมหาบัณฑิต (การเมืองการปกครอง) : ร.ม. (การเมืองการปกครอง)
> ศูนย์บริการทางวิชาการต่างๆ ภายในวิทยาลัยการเมืองการปกครอง
1.) ศูนย์ศึกษาการเมืองท้องถิ่นอีสาน
2.) ศูนย์ศึกษาสิทธิมนุษยชนและสันติวิธี
3.) คลินิกนิติศาสตร์ (ศูนย์ให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย)
4.) คลินิกรัฐศาสตร์
5.) ศูนย์ฝึกอบรมหลักสูตรพิเศษ
6.) ห้องสมุด
รัฐชาติ
รัฐชาติ (อังกฤษ: nation state) หรือเดิมเรียก รัฐประชาชาติ (อังกฤษ: national state) เป็นรูปแบบหนึ่งอันแน่นนอนของหน่วยการปกครองระดับประเทศในปัจจุบัน เป็นมโนทัศน์ทางรัฐศาสตร์ที่กำหนดว่าประเทศนั้นมีองค์ประกอบสามประการ คือ มีประชากรแน่นอน มีดินแดนแน่นอน และมีรัฐบาลหรือมีอำนาจอธิปัตย์แน่นอนเป็นของตนเอง ซึ่งเป็นมโนทัศน์ที่จำแนกประเทศในอดีตออกจากประเทศในปัจจุบัน เนื่องจากในอดีตนั้นมโนทัศน์เช่นนี้หามีความแน่นอนไม่ อาทิ ประเทศไทยเองที่เดิมมิได้มีอาณาเขตแน่นอน ขยายออกหรือหดเข้าได้ตามอำนาจของพระมหากษัตริย์แต่ละรัชกาล กับทั้งประชากรก็ไม่แน่นอน ในยามชนะสงครามมักมีการอพยพเทครัวชนชาติอื่นเข้ามาในแว่นแคว้นของตัว เป็นต้น เนื่องจากความหลากความหมายของคำ "รัฐ" เช่น รัฐในสหรัฐอเมริกาที่มีระดับเป็นหน่วยการปกครองย่อย ๆ จึงมีการประดิษฐ์คำ "รัฐชาติ" ขึ้นให้หมายถึงประเทศที่เป็นหน่วยการปกครองใหญ่ดังมีองค์ประกอบข้างต้นเท่านั้น
การบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบ Comparative Public Administration - CPA..
CPA. คือ สาขาวิชาหนึ่งที่ศึกษาเกี่ยวกับการบริหาร และระบบบริหารของประเทศต่าง ๆ ในเชิงเปรียบเทียบ โดยการพยายามนำเอาแนวความคิด และทฤษฎีทาง รปศ. ไปปรับใช้ในโลกแห่งความเป็นจริง หรือประเทศในโลกที่สามารถ
CPA. คือการศึกษาการบริหารของประเทศด้อยพัฒนา โดยนักวิชาการตะวันตก
วัตถุประสงค์
- เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของระบบบริหาร หรือระบบราชการในประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะประเทศด้อยพัฒนา
- เพื่อหาลักษณะร่วม หรือลักษณะสากลที่จะนำไปสู่การสร้างทฤษฎีหรือศาสตร์ที่ว่าการบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบ
แนวทางการศึกษาการบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบ มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไป ดังนี้
1. มุ่งเน้นศึกษาถึงความคล้าย คลึงและความแตกต่างระหว่าง ระบบการบริหารราชการ ประสิทธิภาพการบริหารงานของประเทศต่างๆในประเทศโลกที่สาม และพยายามที่จะนำแนวคิด ทฤษฎีทาง ร.ป.ศ.ไปปรับใช้ในประเทศด้อยพัฒนาเพื่อให้ประเทศเหล่านั้นมีระบบการบริหารที่ทันสมัย แต่ผลที่ได้รับไม่เป็นไปตามที่คาดไว้
2. แนวทางการศึกษาจึงปรับเปลี่ยนไปที่ปัญหาที่เกิดขึ้นในประเทศโลกที่สาม โดยเฉพาะปัญหาการนำนโยบาย แผนงาน โครงการต่างๆที่กำหนดไว้ออกไปปฏิบัติให้บรรลุผล
3. มุ่งเน้นที่การบริหารการพัฒนาแนวใหม่ เพื่อให้การพัฒนาประเทศด้อยพัฒนาบังเกิดผล และสร้างความเป็นธรรมในสังคม
พัฒนาการและภูมิหลังของการศึกษาการบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบ
- แนวคิด CPA มีภูมิหลังมาจากนโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่2
- เปรียบเสมือนสินค้าส่งออกชนิดหนึ่งของอเมริกาที่ผลิตแล้วส่งออกไปขายในประเทศโลกที่สาม หลัง W.W.II
สรุป พัฒนาการศึกษา CPA. เริ่มต้นในสหรัฐอเมริกาในช่วงหลัง W.W.II
นโยบายต่างประเทศของอเมริกาที่ใช้นับตั้งแต่ช่วงW.W.II-1970
ยุคแรก ค.ศ.1943 - 1948 เป็นยุคแห่งการฟื้นฟูภายหลัง W.W.II ในเกาหลี ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ ยุโรป
เป้าหมาย สร้างสังคมของประเทศเหล่านั้นให้มีลักษณะรูปแบบให้เหมือนสังคมอเมริกันในทุกด้าน
ช่วงที่ 2 ค.ศ.1949 - 1960 เป็นยุคแห่งการสกัดกั้นการแพร่ขยายอิทธิพลของลัทธิคอมมิวนิสต์ และการปกป้องเขตอิทธิพลของสหรัฐ “ยุคสงครามเย็น”
ยุทธวิธี การสร้างพันธมิตรทางทหาร กับประเทศโลกเสรี และให้ความช่วยเหลือทางด้านเศรษฐกิจกับประเทศพันธมิตร
เป้าหมาย เพื่อให้ประเทศต่าง ๆ เหล่านั้นมีการพัฒนาการปกครองไปสู่ระบอบ
ประชาธิปไตย
แนวคิด การพัฒนาระบบบริหาร หรือระบบราชการในประเทศโลกที่สามให้มีขีดความ
สามารถเพิ่มขึ้น เพื่อจะได้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาประเทศต่อไป
ช่วงที่ 3 ค.ศ.1961 - 1972 ยุคแห่งการเผยแพร่อิทธิพลของสหรัฐอเมริกาไปยังประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก
ยุทธวิธี เปลี่ยนแปลงนโยบายการให้ความช่วยเหลือประเทศต่าง ๆ จากการเน้น
“ความมั่นคง” การต่อต้านคอมมิวนิสต์มาสู่การพัฒนาและการเปลี่ยนแปลง “สังคม”
แนวคิด เปลี่ยนแปลงสังคมของประเทศโลกที่สามให้เป็นเหมือนสังคมอเมริกัน ทั้งในเชิงรูป
แบบโครงสร้างและสร้างสถาบันต่าง ๆ ขึ้นมารองรับ
ผลลัพธ์ ทำให้เกิดอุดมการณ์แห่งการพัฒนา (developmentism) ขึ้นมาเป็นอุดมการณ์
ใหม่ของโลก
อุดมการณ์พัฒนาที่ครอบงำผู้นำในประเทศโลกที่สามคือ
“ประเทศยากจนทั้งหลายในโลกที่สามจะสามารถพัฒนาประเทศของตนให้เจริญก้าวหน้าทัดเทียมกับประเทศพัฒนาได้ โดยมีมรรควิธีและเป้าหมายที่สำคัญคือ “ต้องเปลี่ยนสังคมของตนให้เป็นเหมือนประเทศที่เจริญแล้วคือเป็น “สังคมอุตสาหกรรม” ด้วยการเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมและการลงทุนจากต่างประเทศ เพื่อความเจริญเติบโตในทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว”
แนวทางการศึกษาเปรียบเทียบที่นักวิชาการเสนอมี 2 แนวทางคือ
แนวทางแรก กลุ่มการศึกษาการเมืองเปรียบเทียบ (Comparative Politics) นำโดย Gabriel Almond
แนวคิด การศึกษาการเมืองประเทศในโลกที่สามต้องสนใจ ในเรื่อง พฤติกรรมทางการเมือง
ค่านิยม และวัฒนธรรมทางการเมือง ไม่ใช่มุ่งเน้นศึกษาเรื่อง รัฐ-ชาติ อำนาจรัฐ สถาบันการเมือง
ความเชื่อ สังคมประเทศโลกที่สามมีความด้อยพัฒนาอย่างมากเมื่อเทียบกับตะวันตก วิธี
การแก้ไขคือ ต้องพัฒนาการเมืองในประเทศเหล่านั้นโดยการลอกเลียนแบบจากประเทศตะวันตก
แนวทางที่สอง กลุ่มบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบ (Comparative Public Administration)
แนวคิด ระบบบริหารของประเทศในโลกที่สามเป็นระบบที่ไม่มีประสิทธิภาพ ทำงานไม่ได้
ผล เมื่อเปรียบเทียบกับในประเทศตะวันตก
ความเชื่อ ต้องพัฒนาและปรับปรุงระบบการบริหารของประเทศโลกที่สามให้ “ทันสมัย”
- ต้องสร้างสถาบันทางการบริหารใหม่ ๆ ขึ้นมาในประเทศโลกที่สาม เพื่อเป็นกลไก
ในการพัฒนา
กรมการปกครอง
กรมการปกครอง เป็นหน่วยงานสังกัดกระทรวงมหาดไทย ดำเนินงานเกี่ยวกับการรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงภายใน การบริหารการปกครองท้องที่ในระดับอำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน การดำเนินการและพัฒนาระบบงานทะเบียนราษฎร และการขออนุญาตต่างๆ ตามกฎหมาย
ประวัติ
กรมการปกครองเป็นหน่วยงานในกระทรวงมหาดไทย ที่ก่อตั้งมาพร้อมกับกระทรวงมหาดไทยในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2435 โดยกรมการปกครองในสมัยนั้นมีชื่อว่า "กรมพลำภัง" หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยแล้วในปี พ.ศ. 2476 กรมพลำภังได้เปลี่ยนชื่อเป็น กรมมหาดไทย ต่อมาในปี พ.ศ. 2505 จึงเปลี่ยนมาใช้ชื่อ "กรมการปกครอง"จนถึงปัจจุบัน
กรมการปกครองตั้งอยู่ที่ ถนนอัษฎางค์ แขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
อำนาจและหน้าที่
1. เสนอแนะนโยบายและจัดทำแผน มาตรการ ติดตาม และประเมินผลด้านการรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงภายใน
2. ดำเนินการเกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงภายใน งานการข่าว งานกิจการชายแดน งานควบคุมดูแลชาวเขาและชนกลุ่มน้อย ผู้อพยพและผู้หลบหนีเข้าเมือง งานสัญชาติ และงานกิจการมวลชน
3. สนับสนุน ส่งเสริมการปกครองในระบอบประชาธิปไตย และการเลือกตั้งทุกระดับ
4. ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยกองอาสารักษาดินแดน
5. ดำเนินการพัฒนาและบริหารการปกครองท้องที่ในระดับอำเภอ กิ่งอำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน ตามกฎหมาย ว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่
6. ดำเนินการและพัฒนาระบบงานทะเบียนราษฎร งานบัตรประจำตัวประชาชน และงานทะเบียนอื่น รวมทั้ง การบริหารจัดการฐานข้อมูลกลางเพื่อการใช้ประโยชน์ร่วมกันทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
7. ดำเนินการพัฒนาบุคลากรในด้านการรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงภายใน
8. ดำเนินการสื่อสารเพื่อการบริหารงาน การรักษาความสงบเรียบร้อย และความมั่นคงภายในประเทศ
9. อำนวยการและสนับสนุนการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของนายอำเภอ
10.ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรมหรือตามที่กระทรวงหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
11.ดำเนินการเกี่ยวกับการรักษาความสงบเรียบร้อย สืบสวนสอบสวนคดีอาญาในหน้าที่พนักงานฝ่ายปกครอง และอำนวยความเป็นธรรมให้แก่ประชาชน
แผนยุทธ์ศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย
จากกรอบแนวคิด และสาระสำคัญของการปฏิรูประบบราชการไทยคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ( ก.พ.ร.) ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2545 ได้เสนอแผนยุทธ์ศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย พ.ศ. 2546-2550 ให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ความเห็นชอบแผนยุทธ์ศาสตร์ดังกล่าวแล้ว เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2546 โดยแผนยุทธ์ศาสตร์ดังกล่าวมีเนื้อหาโดยสรุปดังนี้
1. วิสัยทัศน์ “พัฒนาระบบราชการไทยให้มีความเป็นเลิศ สามารถรองรับกับการพัฒนาประเทศในยุคโลกาภิวัฒน์ โดยยึดหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีและประโยชน์สุดของประชาชน”
2. เป้าประสงค์หลักของการพัฒนาระบบราชการ
(1) พัฒนาคุณภาพการให้บริการประชาชนที่ดีขึ้น ( Better Service Quality)
(2) ปรับบทบาท ภารกิจ และขนาดให้มีความเหมาะสม ( Rightsizing)
(3) ยกระดับขีดความสามารถและมาตราฐานการทำงานให้อยู่ในระดับสูงและเทียบเท่าเกณฑ์สากล ( High Performance) และ
(4) ตอบสนองต่อการบริหารการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ( Democratic Governance)
3. ยุทธ์ศาสตร์การพัฒนาระบบราชการ
ยุทธ์ศาสตร์ที่ 1 : การปรับเปลี่ยนกระบวนการและวิธีการทำงาน
(1) นำระบบการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์มาประยุกต์ใช้อย่างจริงจังโดยให้มีการจัดทำแผนยุทธ์ศาสาตร์และแผนดำเนินงานอย่างเป็นระบบ
(2) ให้ส่วนราชการกำหนดเป้าหมายในการเพิ่มปนะสิทธภาพและยกระดับคุณภาพมาตราฐานในการให้บริการและการพัฒนาองค์การ
(3) ปรับเปลี่ยนระบบการควบคุมภายในส่วนของราชการให้มีความทันสมัยมากขึ้น โดยเฉพาะการควบคุมก่อนดำเนินงาน และการควบคุมภายหลักการดำเนินงาน
(4) ปรับปรุงระบบการประเมินผลการดำเนินงาน โดยจัดให้มัการเจรจาและทำข้อตกลงว่าด้วยผลงานประจำปีให้สอดรับกับแผนยุทธ์ศาสตร์และแผนดำเนินงานรายปี รวมทั้งให้มีการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามข้อตกลงดังกล่าวสิ้นทุกปี และถือเป็นเงื่อนไขส่วนหนึ่งของการให้แก่รางวัลประจำแก่ส่วนราชการ
(5) ให้มีการทบทวนแผนยุทธ์ศาสตร์และแผนดำเนินงาน/โครงการต่างๆอย่างเป็นระบบและสม่ำเสมอ เพื่อนำมาปรับปรุงให้สอดรับกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปและจัดลำดับความสำคัญของการจัดสรรทรัพย์ยากรให้มีความเหมาะสมมากขึ้น
(6) ในการกำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และตัวชี้วัด ของแผนยุทธ์ศาสตร์และแผนดำเนินงาน การจัดทำข้อตกลงว่าด้วยผลงาน รวมถึงการทบทวนติดตามและประเมินผลนั้น ให้มีกระบวนการปรึกษาหารีอ การสำรวจและรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และ/หรือการเปิดให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมโดยตรง
(7) ให้แต่ละส่วนราชการเสนอแผนในการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายและระเบียบปฏิบัติของการทางราชการที่ล้าสมัย ไม่มีความจำเป็น หรืออาจเป็นอุปสรรคต่อการให้บริการประชาชน โดยเฉพาะการมอบอำนาจการอนุมัติ อนุญาต และการสั่งการต่างๆให้เสร็จสิ้น ณ จุดให้บริการเดียวกัน
(8) วางกติกาเพื่อให้มีการแข่งขันขึ้น โดยพยายามลดการผูกขาดหน่วยงานราชการในการเป็นผู้ให้บริการสาธาณะเองลง และเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนหรือองค์กรพัฒนาไม่แสวงหากำไรและองค์กรประชาสังคมสามารถคัดคานและเข้ามาดำเนินการแข่งขันได้
(9) ให้มีการจัดแนวทางและคู่มือการบริหารราชการที่ดี เพื่อใช้ประกอบในการชี้แจงทำความเข้าใจ เผยแผ่และฝึกอบรม และให้คำปรึกษา แนะนำแก่ส่วนราชการต่างๆ รวมถึงการใช้ประโยชน์ในฐานะเป็นเครื่องมือในการประเมินตนเอง ( Self-assessment) ของผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน
ยุทธ์ศาสตร์ที่ 2 :การปรับปรุงโครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดิน
(1) มุ่งเน้นการจัดระเบียบโครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดินในเชิงบูรณาการครอบคลุมทั้งในส่วนของการวางยุทธ์ศาสตร์และการนำยุทธ์ศาสตร์ไปปฏิบัติโดยจัดให้มีกลไกแระสานการทำงานร่วมกัน เพื่อให้สามารถเชื่อมโยงการทำงานในแนวดิ่งและแนวนอน ได้อย่างมีประสิทธิผล
(2) ให้มีการทบทวนการจัดโครงสร้างองค์กรของกระทรวง ทบวง ต่างๆ ให้มีความเหมาะสมมากขึ้น เพื่อรองรับกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปและยุทธ์ศาสตร์การปฏิบัติงาน รวมถึงพยายามปรับรูปแบบการทำงานให้มีความยืดหยุ่นคล่องตัว
(3) ทบทวนปรับปรุงโครงสร้าง และพัฒนาระบบรูปแบบการบริการราชการส่วนภูมิภาค เพื่อให้จังหวัดเป็นองค์กรที่มีสมรรถนะสูง สามารถนำวาระแห่งชาติและนโยบายของรัฐบาลไปปฏิบัติให้เกิดสัมฤทธิ์ผล แก้ไขปัญหาและพัฒนาในระดับพื้นที่อย่างมีบูรณาการควบคู่ไปพร้อมกับการพัฒนาระบบการบริหารจักการอำเภอเพื่อให้เป็นจุดรวม ( Out-let) ให้บริการแก่ประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีแนวทางการดำเนินการหลัก อาทิเช่น
- ปรับปรุงการจัดโครงสร้างภายในจังหวัด/อำเภอใหม่ให้ในรูปแบบที่หลากหลาย เพื่อให้แต่ละจังหวัดมีการจัดโครงสร้างหน่วยงานภายในจังหวัดมีการจัดโครงส้างหน่วยงานภายในจังหวัด/อำเภอที่สอดคล้องกับสภาพพื้นที่พันธ์กิจ และการสภาพปํญหาและสามารถตอบสนองความต้องการของชุมชนและประชาชนในท้องถิ่น
- ปรับปรุงการบริหารจัดการระดับแนวใหม่ เป็นการบริหารเชิงกลยุทธ์ มุ่งสู่อนาคต ครบวงจร และฉับไวต่อปัญหาและการเปลี่ยนแปลง โดยมีแนวคิด ยึดพื้นที่พันธกิจ และมีการส่วนรวมเป็นหลักรวมทั้งปรับปรุงระบบการบริหารแบบบูรณาการที่มีการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี เป็นวิธีการบริหารหลักขยายการบริหารแบบบูรณาการให้ครบทุกจังหวัดทั่วประเทศ
- ทบทวนการจัดตั้งหน่วยงานของส่วนกลางในระดับจังหวัดให้มีเท่าที่จำเป็นและตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อให้จังหวัดเป็นองค์การตัวแทนของรัฐบาลที่เป็นศูนย์รวม กิจกรรมที่หลากหลายของกระทรวงต่างๆของส่วนกลาง และรัฐวิสาหกิจ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จะตอบสนองต่อการบริหารแบบบูรณาการ
การบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี (Good Governance)
1.หลักนิติธรรม (Rule of Law)
- การตรากฎหมายที่ถูกต้องเป็นธรรม
- การบังคับให้เป็นไปตามกฎหมาย
- การกำหนดกฎ กติกา และการปฏิบัติตามกฎ กติกา ที่ตกลงกันไว้อย่างเคร่งครัด
- คำนึงถึงสิทธิ เสรีภาพ และความยุติธรรมของบุคคล
2. หลักคุณธรรม (Ethics)
- การยึดมั่นในความถูกต้องดีงาม
- การส่งเสริม สนับสนุนให้มีความซื่อสัตย์ จริงใจ ขยัน อดทน มีระเบียบ วินัย ประกอยอาชีพ
สุจริต ปฏิบัติตามจรรยาบรรณต่อตนเอง ต่อเอนร่วมงาน ต่อประชาชนและสังคม
3. หลักความโปร่งใส (Transparency)
- การสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกันของคนในชาติ โดยปรับปรุงกลไกระบบงานขององค์กรให้มีความโปรงใส่
- การตัดสินใจและการปฏิบัติงานภาครัฐต้องมีความโปร่งใส
- ประชาชนรู้ขั้นตอนที่จะติดต่องาน สามารถตรวจสอบการทำงานได้
- มีระบบข้อมูลข่าวสารภาครัฐเพื่อให้ภาคธุรกิจเอกชนและประชาชนสามารถแสดงความคิด
เห็น และใช้สิทธิได้อย่างถูกต้อง
4. หลักการมีส่วนร่วม (Participation)
- การเปิดโอกาสให้ประชาชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง มีส่วนรับรู้ และเสนอความเห็นใจในการตัดสินใจ
- การจัดวางระบบฟังความเห็นและรับเรื่องร้องทุกข์
5. หลักความรับผิดชอบ (Accountability)
- การตระหนักในสิทธิหน้าที่ ความสำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคม
- การกระตือรือร้นในหารแก้ปัญหา
- ความเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่าง
- ความกล้าที่จะยอมรับทั้งผลดีและผลเสียหายจากการกระทำของตนเอง
6. หลักความคุ้มค่า (Value for Money)
- การบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรที่มีจำกัดเพื่อเกิดประโยชน์สูงสุด
- การรณรงค์ให้ประหยัด ใช้ของอย่างคุ้มค่า
- การสร้างสรรค์สินค้าและบริการที่มีคุณภาพ แข่งขันได้ในเวทีโลก
- การรักษา พัฒนาทรัพยากรธรรมชาติให้สมบูรณ์ยังยืน
ปัญหาสังคมไทย
สาเหตุของปัญหาสังคม
1. เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เช่น การเปลี่ยนเป็นสังคมเมือง การเปลี่ยนจากสังคมเกษตรกรรมเป็นสังคมอุตสาหกรรม การเป็นค่านิยมใหม่ ๆ ทำให้เกิดปัญหาสังคมขึ้น
2. เกิดจากสมาชิกในสังคมบางกลุ่มไม่ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่สังคมวางไว้ เช่น เกิดความขัดแย้งระหว่างกฎเกณฑ์กับความมุ่งหมาย เกิดความล้มเหลวของกระบวนการขัดเกลาทางสังคม หรือสมาชิกบางกลุ่มที่สร้างความเดือดร้อนให้แก่สังคม ทำให้เกิดการขาดระเบียบและเป็นปัญหาทางสังคมขึ้น
3. เกิดจากการที่กลุ่มสังคมต่าง ๆ มีความคิดเห็นความต้องการ และผลประโยชน์ขัดกัน ไม่ยอมร่วมมือแก้ไขปัญหาของสังคม เช่น การเอาเปรียบลูกจ้าง เป็นต้น
ปัญหาของสังคมไทย
1. ปัญหาความยากจน มีสาเหตุเกิดจาก
1.) การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร
2.) การขาดการศึกษา ทำให้มีรายได้ต่ำ
3.) ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม
4.) ลักษณะอาชีพมีรายได้ไม่แน่นอนสม่ำเสมอ เช่นกรรมกร รับจ้าง
5.) มีบุตรมากเกินไป รายได้ไม่พอกับรายจ่าย
6.) มีลักษณะนิสัยเฉื่อยชาและเกียจคร้าน ไม่ชอบทำงาน
การแก้ไขปัญหา :
1.) พัฒนาเศรษฐกิจ เช่น กระจายรายได้ การสร้างงานในชนบท ขยายการคมนาคมขนส่ง เป็นต้น
2.) พัฒนาสังคม เช่น ขยายการศึกษาเพิ่มมากขึ้น บริการฝึกอาชีพให้กับประชาชน
3.) พัฒนาคุณภาพของประชากร
2. ปัญหาอาชญากรรม มีสาเหตุเกิดจาก
1.) การขาดความอบอุ่นทางจิตใจ
2.) การเปลี่ยนแปลงทางสังคมมากขึ้น
3.) สิ่งแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคม
4. มีค่านิยมในทางที่ผิด
การแก้ไขปัญหา
1.) รัฐและหน่วยงานรับผิดชอบควรช่วยกันแก้ไขปัญหา
2.) ปลูกฝังและพัฒนาจิตใจของสมาชิกในสังคมให้มีคุณธรรม
3.) อบรมสั่งสอนและให้ความรัก ความอบอุ่น และรวมถึงให้ความร่วมมือกับหน่วยงานและเจ้าหน้าที่
3.ปัญหายาเสพย์ติด มีสาเหตุเกิดจาก
1.) ถูกชักชวนให้ทดลอง
2.) ประกอบอาชีพบางอย่างที่ต้องการเพิ่มงานมากขึ้น
3.) ความอยากรู้และอยากทดลอง
4.) สภาวะแวดล้อมไม่ดี
การแก้ไขปัญหา
1.) ให้ความรู้เรื่องโทษของยาเสพย์ติด
2.) ป้องกันและปราบปรามผู้ซื้อและผู้ขายอย่างเด็ดขาด
3.) การร่วมมือสอดส่องดูแลความประพฤติของเด็กอย่างใกล้ชิด
4.) จัดให้มีการบำบัดและรักษาผู้ติดยาเสพย์ติด
4. ปัญหาโรคเอดส์ สาเหตุเกิดจาก
1.) ปัญหายาเสพย์ติด
2.) ขาดความรู้ในการป้องกันโรค
3.) เกิดจากความยากจนและไม่เพียงพอ
การแก้ไขปัญหา
1.) ให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการโรคเอดส์ให้กับประชาชน
2.) ไม่เสพย์สิ่งเสพย์ติด โดยเฉพาะการใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน
3.) ระมัดระวังการติดเชื้อโดยทางสายเลือด
5. ปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น อากาศเป็นพิษ น้ำเน่าเสีย เสียงเป็นพิษ ขยะมูลฝอย เป็นต้น มีสาเหตุเกิดจาก
1.) การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรอย่างรวดเร็ว
2.) เกิดจากความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
3.) การขยายตัวทางด้านอุตสาหกรรม
4.) ขาดความรับผิดชอบ และระเบียบวินัยของสมาชิกในสังคม
การแก้ไขปัญหา
1.) ให้การศึกษาและคำแนะนำต่าง ๆ แก่สมาชิกในสังคม
2.) วางนโยบายการป้องกันการทำลายสิ่งแวดล้อม
3.) ลงโทษผู้ฝ่าฝืนและกระทำผิดอย่างจริงจัง
แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาสังคมไทย
1. รัฐบาลควรออกระเบียบ กฎเกณฑ์ และกฎหมาย เพื่อกำหนดมาตรการการป้องกัน และปราบปรามผู้กระทำผิดอย่างจริงจังและแน่นอน
2. วางแผนและนโยบายการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น โดยร่วมมือกับภาคเอกชนเพื่อรณรงค์และอนุรักษ์
3. ให้การศึกษาแก่สมาชิกในสังคมเพื่อให้เกิดความรู้และความเข้าใจในปัญหาต่าง ๆ ให้มากขึ้น
4. ปรับปรุงและพัฒนาสังคมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
5. พัฒนาเศรษฐกิจทั้งด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และการบริการให้ดีขึ้น
6. พัฒนาสังคม สร้างค่านิยม และรณรงค์ให้ประชาชนร่วมมือในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น
1. เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เช่น การเปลี่ยนเป็นสังคมเมือง การเปลี่ยนจากสังคมเกษตรกรรมเป็นสังคมอุตสาหกรรม การเป็นค่านิยมใหม่ ๆ ทำให้เกิดปัญหาสังคมขึ้น
2. เกิดจากสมาชิกในสังคมบางกลุ่มไม่ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่สังคมวางไว้ เช่น เกิดความขัดแย้งระหว่างกฎเกณฑ์กับความมุ่งหมาย เกิดความล้มเหลวของกระบวนการขัดเกลาทางสังคม หรือสมาชิกบางกลุ่มที่สร้างความเดือดร้อนให้แก่สังคม ทำให้เกิดการขาดระเบียบและเป็นปัญหาทางสังคมขึ้น
3. เกิดจากการที่กลุ่มสังคมต่าง ๆ มีความคิดเห็นความต้องการ และผลประโยชน์ขัดกัน ไม่ยอมร่วมมือแก้ไขปัญหาของสังคม เช่น การเอาเปรียบลูกจ้าง เป็นต้น
ปัญหาของสังคมไทย
1. ปัญหาความยากจน มีสาเหตุเกิดจาก
1.) การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร
2.) การขาดการศึกษา ทำให้มีรายได้ต่ำ
3.) ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม
4.) ลักษณะอาชีพมีรายได้ไม่แน่นอนสม่ำเสมอ เช่นกรรมกร รับจ้าง
5.) มีบุตรมากเกินไป รายได้ไม่พอกับรายจ่าย
6.) มีลักษณะนิสัยเฉื่อยชาและเกียจคร้าน ไม่ชอบทำงาน
การแก้ไขปัญหา :
1.) พัฒนาเศรษฐกิจ เช่น กระจายรายได้ การสร้างงานในชนบท ขยายการคมนาคมขนส่ง เป็นต้น
2.) พัฒนาสังคม เช่น ขยายการศึกษาเพิ่มมากขึ้น บริการฝึกอาชีพให้กับประชาชน
3.) พัฒนาคุณภาพของประชากร
2. ปัญหาอาชญากรรม มีสาเหตุเกิดจาก
1.) การขาดความอบอุ่นทางจิตใจ
2.) การเปลี่ยนแปลงทางสังคมมากขึ้น
3.) สิ่งแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคม
4. มีค่านิยมในทางที่ผิด
การแก้ไขปัญหา
1.) รัฐและหน่วยงานรับผิดชอบควรช่วยกันแก้ไขปัญหา
2.) ปลูกฝังและพัฒนาจิตใจของสมาชิกในสังคมให้มีคุณธรรม
3.) อบรมสั่งสอนและให้ความรัก ความอบอุ่น และรวมถึงให้ความร่วมมือกับหน่วยงานและเจ้าหน้าที่
3.ปัญหายาเสพย์ติด มีสาเหตุเกิดจาก
1.) ถูกชักชวนให้ทดลอง
2.) ประกอบอาชีพบางอย่างที่ต้องการเพิ่มงานมากขึ้น
3.) ความอยากรู้และอยากทดลอง
4.) สภาวะแวดล้อมไม่ดี
การแก้ไขปัญหา
1.) ให้ความรู้เรื่องโทษของยาเสพย์ติด
2.) ป้องกันและปราบปรามผู้ซื้อและผู้ขายอย่างเด็ดขาด
3.) การร่วมมือสอดส่องดูแลความประพฤติของเด็กอย่างใกล้ชิด
4.) จัดให้มีการบำบัดและรักษาผู้ติดยาเสพย์ติด
4. ปัญหาโรคเอดส์ สาเหตุเกิดจาก
1.) ปัญหายาเสพย์ติด
2.) ขาดความรู้ในการป้องกันโรค
3.) เกิดจากความยากจนและไม่เพียงพอ
การแก้ไขปัญหา
1.) ให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการโรคเอดส์ให้กับประชาชน
2.) ไม่เสพย์สิ่งเสพย์ติด โดยเฉพาะการใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน
3.) ระมัดระวังการติดเชื้อโดยทางสายเลือด
5. ปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น อากาศเป็นพิษ น้ำเน่าเสีย เสียงเป็นพิษ ขยะมูลฝอย เป็นต้น มีสาเหตุเกิดจาก
1.) การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรอย่างรวดเร็ว
2.) เกิดจากความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
3.) การขยายตัวทางด้านอุตสาหกรรม
4.) ขาดความรับผิดชอบ และระเบียบวินัยของสมาชิกในสังคม
การแก้ไขปัญหา
1.) ให้การศึกษาและคำแนะนำต่าง ๆ แก่สมาชิกในสังคม
2.) วางนโยบายการป้องกันการทำลายสิ่งแวดล้อม
3.) ลงโทษผู้ฝ่าฝืนและกระทำผิดอย่างจริงจัง
แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาสังคมไทย
1. รัฐบาลควรออกระเบียบ กฎเกณฑ์ และกฎหมาย เพื่อกำหนดมาตรการการป้องกัน และปราบปรามผู้กระทำผิดอย่างจริงจังและแน่นอน
2. วางแผนและนโยบายการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น โดยร่วมมือกับภาคเอกชนเพื่อรณรงค์และอนุรักษ์
3. ให้การศึกษาแก่สมาชิกในสังคมเพื่อให้เกิดความรู้และความเข้าใจในปัญหาต่าง ๆ ให้มากขึ้น
4. ปรับปรุงและพัฒนาสังคมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
5. พัฒนาเศรษฐกิจทั้งด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และการบริการให้ดีขึ้น
6. พัฒนาสังคม สร้างค่านิยม และรณรงค์ให้ประชาชนร่วมมือในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น
ข้อควรรู้ในการเลือกตั้ง 2554
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือ ส.ส. นั้น เป็นตัวแทนของประชาชน ที่เข้าไปทำหน้าที่ ออกกฎหมาย และตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล ร่วมกับสมาชิกวุฒิสภา โดยในการเลือกตั้งแต่ละครั้งจะต้องมี ส.ส. มีจำนวน 500 คน ซึ่งมาจากการเลือกตั้ง 2 แบบ คือ
ส.ส. แบบแบ่งเขต
เป็นการเลือกตั้งจาก 375 เขตทั่วประเทศ โดยในแต่ละเขตจะเลือกผู้สมัครที่มีคะแนนสูงสุด ให้เป็น ส.ส. โดยจะมี ส.ส. ทั้งสิ้นจำนวน 375 คน
ส.ส.แบบสัดส่วน หรือ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ
เป็นการเลือกตั้งโดยทางพรรคการเมืองนั้น ๆ จะส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ ไว้เพียงบัญชีเดียว เรียงลำดับไม่จำนวนไม่เกิน 125 รายชื่อ ซึ่งการเลือกตั้งแบบนี้ หมายถึงทั้งประเทศ จะมีผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อชุดเดียวกัน มีทั้งสิ้นจำนวน 125 คน
สำหรับหน้าที่ของ สมาชิกสภาผู้แทนราฎร มีดังต่อไปนี้
- ออกกฎหมายเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน
- เป็นผู้เลือก ส.ส. ที่จะดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี
- ควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน
- จัดสรรงบประมาณแผ่นดินเพื่อพัฒนาประเทศ
- นำปัญหาความเดือดร้อนและความต้องการของประชาชนเสนอรัฐบาล
คุณสมบัติของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
- สัญชาติไทย หรือผู้มีสัญชาติไทยโดยได้แปลงสัญชาติมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี
- อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ ในวันที่ 1 มกราคม ของปีที่มีการเลือกตั้ง ในปีนี้ถึงว่า ต้องมีอายุครบ 18 ปีบริบรูณ์ภายในวันที่ 1 มกราคม 2553
- มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งมาแล้วเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วัน นับถึงวันเลือกตั้ง
ลักษณะต้องห้ามของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
- ภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช
- อยู่ในระหว่างถูกเพิงถอนสิทธิการเลือกตั้ง
- ต้องคุมขังโดยหมายของศาล หรือโดยคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
- วิกลจริต จิตฟั่นเฟือน หรือไม่สมประกอบ
การเตรียมตัวในการเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
การตรวจสอบรายชื่อ
- ตรวจสอบรายชื่อจากบัญชีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 20 วันก่อนวันเลือกตั้ง ที่ศาลากลางจังหวัด ที่ว่าการอำเภอ ที่ทำการเขต ที่ทำการ อบต. สำนักงานเทศบาล ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน หรือเขตชุมชน
- ตรวจสอบรายชื่อจากบัญชีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 15 วันก่อนวันเลือกตั้ง จากหนังสือแจ้งเจ้าบ้าน (ส.ส.12)
ทั้งนี้ ในกรณีที่ไม่พบชื่อของตนเองในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ให้แจ้งทะเบียนนายอำเภอ หรือนายทะเบียนท้องถิ่น โดยนำหลักฐานสำเนาทะเบียนบ้าน และบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวอื่นใดที่ทางราชการออกให้มาแสดงด้วย
หลักฐานที่ใช้ในการเลือกตั้ง
- บัตรประชาชน (บัตรที่หมดอายุก็ใช้ได้)
- บัตรหรือหลักฐานที่ราชการหรือหน่วยงานของรัฐออกให้มีรูปถ่ายและหมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน เช่น
- บัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ
- ใบขับขี่
- หนังสือเดินทาง (พาสปอร์ต)
การแจ้งเหตุที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ส.ส. ไม่ได้
สำหรับผู้ที่มีเหตุทำให้ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ส.ส. ไม่ได้ ต้องทำหนังสือชี้แจงเหตุ ส.ส. 28 ก่อนหรือหลังวันเลือกตั้ง 7 วัน โดยระบุเลขประจำตัวประชาชนและที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน ยื่นหนังสือต่อนายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่นด้วยตนเอง มอบหมายผู้อื่นหรือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน
ผู้ที่มีเหตุทำให้ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ส.ส. ไม่ได้
- ผู้มีธุรกิจจำเป็นเร่งด่วนต้องเดินทางไปพื้นที่ห่างไกล
- ผู้ป่วยและไม่สามารถเดินทางไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้
- ผู้พิการหรือผู้สูงอายุและไม่สามารถเดินทางไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้
- ผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร
- ผู้มีถิ่นที่อยู่ห่างไกลจากที่เลือกตั้งเกินกว่า 100 กิโลเมตร
- ผู้ประสบเหตุสุดวิสัย เช่น อุทกภัย วาตภัย ฯลฯ
การเลือกตั้งนอกเขตจังหวัด
สำหรับผู้ที่ทำงานหรืออาศัยอยู่คนละจังหวัดกับทะเบียนบ้าน หรือผู้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านปัจจุบันไม่ถึง 90 วัน สามารถไปลงคะแนนเลือกตั้ง ส.ส. ก่อนวันเลือกตั้ง ณ ที่เลือกตั้งกลางของจังหวัดที่ท่านทำงานหรืออาศัยอยู่ได้ แต่ต้องยืนคำขอลงทะเบียนเพื่อขอใช้สิทธิเลือกตั้งก่อนวันเลือกตั้ง ต่อนายทะเบียนอำเภอ หรือนายทะเบียนท้องถิ่น ก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 30 วัน
การเลือกตั้งในเขตจังหวัด
สำหรับผู้ที่อยู่อาศัยในบ้านตามทะเบียนบ้าน แต่ในวันเลือกตั้งต้องเดินทางออกนอกเขต ไม่สามารถไปใช้สิทธิได้ ก็สามารถไปแสดงตนเพื่อขอลงคะแนนเลือกตั้ง ส.ส. ก่อนวันเลือกตั้งได้ (การเลือกตั้งล่วงหน้า) ณ ที่เลือกตั้งกลางในเขตเลือกตั้งที่ตนมีสิทธิเลือกตั้ง โดยไม่ต้องยื่นคำขอลงทะเบียนแต่ต้องแจ้งขอใช้สิทธิดังกล่าวต่อ กกต.เขต
การเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร
สำหรับผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่อยู่ต่างประเทศ ต้องขอลงทะเบียนใช้สิทธินอกราชอาณาจักรก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 30 วัน (ภายในวันที่ 2 มิถุนายน 2554) และไปลงคะแนนล่วงหน้า ระหว่างวันที่ 17 - 26 มิถุนายน 2554 ณ สถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุล หรือลงคะแนนทางไปรษณีย์ ตามที่สถานเอกอัครราชทูต หรือสถานกงสุลกำหนด
พรรคการเมืองของไทย ถือกำเนิดครั้งแรก ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๔๘๙ พรรคการเมืองพรรคแรกที่จัดตั้งขึ้น คือ "พรรคก้าวหน้า" ผู้ริเริ่มจัดตั้งคือ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช แต่ในขณะนั้นยังไม่มีการประกาศใช้กฎหมายพรรคการเมืองดังนั้น "พรรคก้าวหน้า" จึงยังมิได้จดทะเบียนพรรคการเมืองอย่างเป็นทางการ
จวบจนกระทั่ง วันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ.๒๔๙๘ ในสมัยรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้มีการประกาศใช้ พระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ.๒๔๙๘ ขึ้นเป็นครั้งแรกของประวัติศาสตร์การเมืองไทย จึงได้มีการจัดตั้ง และจดทะเบียนพรรคการเมืองขึ้นโดยในระหว่าง พ.ศ.๒๔๙๘ - ๒๕๐๑ มีพรรคการเมืองจำนวน๓๐ พรรค
และนับจากนั้นเป็นต้นมา พรรคการเมืองของไทยก็ได้มีการจัดตั้งและยุบเลิกมาโดยตลอด ขณะเดียวกัน ก็มีการยกเลิกและประกาศใช้พระราชบัญญัติพรรคการเมืองหลายฉบับ ได้แก่ พระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ.๒๔๙๘ พ.ศ.๒๕๑๑ พ.ศ.๒๕๑๗ พ.ศ.๒๕๒๔ และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.๒๕๔๑ ซึ่งเป็นฉบับที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เป็นกฎหมายลำดับศักดิ์สูงสุดแห่งราชอาณาจักรไทย กฎหมายอื่นใดจะขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญไม่ได้ รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบการปกครองของประเทศ ซึ่งตั้งแต่ปีพ.ศ. 2475 ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญแล้วทั้งสิ้น 18 ฉบับ อันแสดงให้เห็นถึงความขาดเสถียรภาพทางการเมืองของประเทศ รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
รัฐธรรมนูญไทยระบุว่าประเทศไทยมีรูปแบบรัฐเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ และปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา (เขียนว่า ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข) กำหนดให้มีการแบ่งแยกอำนาจระหว่างอำนาจนิติบัญญัติ บริหารและตุลาการ ปัจจุบัน ประเทศไทยใช้ระบบสองสภา แตกต่างจากในอดีตที่ใช้ระบบสภาเดี่ยว รัฐธรรมนูญแต่ละฉบับกำหนดให้ผู้แทนราษฎรมาจากการเลือกตั้งและการแต่งตั้งแตกต่างกันไป เช่นเดียวกับพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์
ศาลรัฐธรรมนูญเป็นองค์กรหลักที่ทำหน้าที่ตีความรัฐธรรมนูญและวินิจฉัยข้อขัดแย้งข้อพิพาทที่เกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญ
ประวัติความเป็นมาของปรัชญาการเมือง
1. ปรัชญาการเมืองคลาสสิก (Classical Political Philosophy)
มีโซเครติสเป็นผู้เริ่มต้น สืบทอดและพัฒนาโดยเพลโต้และเจริญถึงขีดสุดในสมัยอริสโตเติ้ล โดยมีแนวคิดที่สำคัญคือ เป็นเรื่องการต่อสู้เพื่อดำรงรักษาและพัฒนาชุมชนขนาดเล็กให้มีความเจริญก้าวหน้าในการปกครองตนเอง มีเศรษฐกิจที่พึ่งตนเองได้ ถือว่าเป็นปรากฏการณ์ที่สำคัญใบประวัติศาสตร์อารยธรรมของมนุษยชาติ
ปรัชญาการเมืองยุคนี้ พิจารณาเป้าหมายสูงสุดของชีวิตการเมืองคือคุณธรรม โดยเห็นว่าความเสมอภาคหรือประชาธิปไตยไม่ใช่สิ่งสูงสุด เพราะมนุษย์ไม่ได้ถูกสร้างให้มีคุณธรรมเท่าเทียมกัน การกำหนดให้สิทธิแก่มนุษย์ทุกคนอย่างเท่าเทียมกันในขณะที่บางคนเป็นผู้สูงกว่าผู้อื่นโดยธรรมชาติจึงเป็นเรื่องไม่ยุติธรรม
สรุปว่า ยุคนี้ถือว่ารัฐที่ดีที่สุดได้แก่รัฐที่มีการปกครองแบบอภิชนาธิปไตย (Aristocracy หรือรัฐผสม Mixed regime)
2. ปรัชญาการเมืองสมัยใหม่ (Modern Political Philosophy)
ลักษณะของปรัชญาการเมืองสมัยใหม่ ถือกำเนิดขึ้นในศตวรรษที่ 16 - 17 เป็นปฏิกิริยาที่มีผลต่อคริสต์ศาสนาที่แตกแยกออกเป็นนิกายต่างๆ อันเป็นสาเหตุอย่างหนึ่งของสงครามกลางเมืองและสงครามระหว่างรัฐที่ไม่หยุดหย่อน
แนวคิดนี้ สังเกตได้จากงานเขียนของ มาเคียเว็ลลี ฮอบส์ และรุสโซ่ เป็นต้น อันเป็นการต่อต้านแนวคิดอุดมการทางคริสต์ศาสนา ซึ่งมีรากฐานอยู่ในปรัชญาการเมืองคลาสสิกอีกทีหนึ่ง นักปรัชญาการเมืองสมัยใหม่ แม้จะมีแนวคิดที่ต่างกันมากมาย แต่ที่เห็นร่วมกันคือ การปฏิเสธโครงร่างของปรัชญาการเมืองคลาสสิกว่าเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้
มาเคียเว็ลลีถือว่าเป็นบิดาของปรัชญาการเมืองสมัยใหม่ เพราะเขาวิจารณ์แนวคิดแบบยุคคลาสสิกว่าเป็นแนวคิดที่ผิด เพราะไปตั้งสมมติฐานหาเป้าหมายที่คุณธรรมและคิดว่ามนุษย์เป็นสัตว์ทางการเมือง
อันที่จริง ควรเริ่มมองมนุษย์จากแง่ความเป็นจริงว่า มนุษย์เป็นสัตว์ที่ชั่วร้ายและจะต้องถูกบังคับให้เป็นคนดี สำหรับฮอบส์ก็ปฏิเสธแนวคิดของยุคคลาสสิก ที่เห็นว่ามนุษย์จะดีได้เพราะอาศัยการเมือง เพราะเขาถือว่า ความปรารถนาที่จะมีชีวิตรอดต่างหาก เป็นรากฐานที่สำคัญที่สุดของความยุติธรรมและศีลธรรม
แนวคิดของนักปรัชญาการเมืองเหล่านี้ได้นำไปสู่การปฏิบัติการทางการเมืองในยุคปัจจุบันรวมทั้งการศึกษาการเมืองหลายรูปแบบ เช่น
1.) การศึกษาทางการเมืองในเชิงพฤติกรรม
2.) การศึกษาทางการเมืองในเชิงสถาบัน
3.) การศึกษาทางการเมืองตามโครงสร้างทางการเมือง
4.) การศึกษาทางการเมืองตามหน้าที่ทางการเมือง
3. ปรัชญาการเมืองในปัจจุบัน (Contemporary Political Philosophy)
ในปัจจุบันนี้ฐานะของปรัชญาทางการเมืองได้รับความสนใจน้อยลง ทั้งนี้เพราะสังคมศาสตร์ได้ยอมรับเอาข้ออ้างทางวิทยาศาสตร์มาเป็นบรรทัดฐานของตน โดยมีความเห็นว่าแนวคิดของโซเครติสในเรื่องความดี ความกล้าหาญ ความยุติธรรม เป็นสิ่งที่ไม่มีหลักเกณฑ์ที่แน่นอนตายตัว พิสูจน์ไม่ได้ด้วยหลักการทางวิทยาศาสตร์ แนวคิดยุคคลาสสิกเป็นเพียงค่านิยมเท่านั้น
แนวคิดปรัชญาการเมืองสมัยปัจจุบัน เน้นที่ความเป็นประชาธิปไตยซึ่งขัดแย้งกับแนวคิดในยุคคลาสสิกโดยถือว่าสังคมจะดีขึ้นหรือเจริญขึ้น ขึ้นอยู่กับสถาบันในสังคม เช่น สถาบันการปกครอง หรือ สถาบันทางเศรษฐกิจเป็นใหญ่ ไม่ใช่การอบรมบ่มนิสัยสร้างบุคคลอย่างที่ยุคคลาสสิกยึดถือ
www.buddhism.rilc.ku.acth.chachawarn/
ความเป็นมาของวันชาติไทย
สำหรับประเทศไทย เราเคยได้มีการกำหนดให้วันที่ 24 มิถุนายนเป็น “วันชาติ”ของไทย ด้วยถือว่าวันที่ 24 มิถุนายน 2475 เป็นวันเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นการปกครองในระบอบรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตย โดยได้มี ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง “วันชาติ” ลงวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2481 โดย พ.อ.พหลพลพยุหเสนา เป็นนายกรัฐมนตรีสมัยนั้น และได้มีการเฉลิมฉลองวันชาติ 24 มิถุนายน ครั้งแรกในปีพ.ศ. 2482 ในสมัยจอมพลป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี
วันที่ 24 มิถุนายน เป็น “วันชาติ” ของไทยอยู่นานถึง 21 ปี ครั้น วันที่ 21 พฤษภาคม 2503 สมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี ก็ได้มี ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ขึ้นใหม่อีกฉบับหนึ่ง เรื่อง ให้ถือวันพระราชสมภพเป็นวันเฉลิมฉลองของชาติไทย โดยให้เหตุผลว่า
ด้วยคณะรัฐมนตรีได้พิจารณาเห็นว่า ตามที่ได้กำหนดให้มีการเฉลิมฉลองวันชาติไทยในวันที่ 24 มิถุนายน นั้น ได้ปรากฏในภายหลังว่า มีข้อที่ไม่เหมาะสมหลายประการ ในด้านประชาชนและหนังสือพิมพ์ก็ได้เสนอแนะให้พิจารณาในเรื่องนี้หลายครั้งหลายคราว คณะรัฐมนตรีจึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นพิจารณา โดยมีพลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน
คณะกรรมการนี้ได้พิจารณาแล้ว เสนอความเห็นว่า ประเทศต่างๆได้เลือกถือวันใดวันหนึ่งที่มีความสำคัญเกี่ยวเนื่องกับชนในชาติต่างๆกัน โดยถือเอาวันประกาศเอกราช วันอิสรภาพ วันตั้งถิ่นฐาน วันสาธารณรัฐ วันสถาปนาพระราชวงศ์บ้าง ซึ่งไม่เหมือนกัน แต่ประเทศที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของชาติ โดยทั่วไปนั้น ได้ถือเอาวันพระราชสมภพของพระมหากษัตริย์เป็นวันเฉลิมฉลองของชาติ เช่น ประเทศอังกฤษ เนเธอร์แลนด์ เดนมาร์ก สวีเดน ญี่ปุ่น ฯลฯ เป็นต้น
แม้ประเทศไทยเราเองก็ได้ถือเอาวัน[[พระราชสมภพเป็นวันเฉลิมฉลองของชาติไทยมาแล้ว เพิ่งจะมากำหนดเอาวันที่ 24 มิถุนายน เป็นวันชาติ เพิ่มขึ้นอีกวันหนึ่งในระยะหลังนี้เองคณะกรรมการจึงมีความเห็นว่า เพื่อให้เป็นไปตามขนบประเพณีของประเทศที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และเป็นหลักการสมัครสมานสามัคคีรวมจิตใจของบุคคลในชาติโดยทั่วกัน จึงสมควรจะถือเอาวันพระราชสมภพของพระมหากษัตริย์เป็นวันเฉลิมฉลองของชาติไทยต่อไป โดยยกเลิกวันชาติ ในวันที่ 24 มิถุนายนเสีย
ดังนั้น นับแต่ปี พ.ศ. 2503 ประเทศไทยจึงได้ถือเอาวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งตรงกับวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี เป็น “วันชาติ” ของไทย ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ลำดับพระมหากษัตริย์ไทย
สมัยสุโขทัย (วงศ์พระร่วง)
1. พ่อขุนศรีอินทรทิตย์ และขุนบาลเมือง ประมาณ พ.ศ. 1800 - พ.ศ.1820
2. พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ประมาณ พ.ศ. 1820 - พ.ศ.1860
3. พญาเลอไท ประมาณ พ.ศ. 1861 - พ.ศ.1897
4. พญาลิไท ประมาณ พ.ศ. 1897 - พ.ศ.1919
5. พญาไสยลือไท ประมาณ พ.ศ. 1919 - พ.ศ.1920
สมัยอยุธยา
1. สมเด็จพพระรามาธิบิดีที่1 (อู่ทอง) พ.ศ. 1893 - พ.ศ.1913
2. พระราเมศวร (ครั้งที่1) พ.ศ. 1913
วงศ์สุพรรณภูมิ
1. สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่1 พ.ศ. 1913 - พ.ศ.1931
2. เจ้าทองลั่น พ.ศ. 1931 ครองราชย์เพียง 7วัน
วงศ์เชียงราย
3. พระราเมศวร (ครั้งที่) พ.ศ. 1931 - พ.ศ.1938
4. สมเด็จพระรามราชาธิราช พ.ศ. 1938 - พ.ศ.1952
วงศ์สุพรรณภูมิ
3. สมเด็จพระนครอินทราธิราช พ.ศ. 1952 - พ.ศ.19 67
4. สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่2 (จ้าสามพระยา)พ.ศ. 1967 - พ.ศ.19 91
5. สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พ.ศ. 1991 - พ.ศ. 2031
6. สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่3 พ.ศ. 2031 - พ.ศ. 2034
7. สมเด็จพระรามาธิบดีที่2 พ.ศ. 2034 - พ.ศ. 2072
8. สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่4 พ.ศ. 2072 - พ.ศ. 2076
9. สมเด็จพระรัษฎาธิราชกุมาร พ.ศ. 2076 ครองราชย์ 4 เดือน
10. สมเด็จพระชัยราชาธิราช พ.ศ. 2076 - พ.ศ. 2089
11. พระแก้วฟ้า พ.ศ. 2089 - พ.ศ. 2091
12. สมเด็จพระมหาจักรพรรดิราช พ.ศ. 2091 - พ.ศ. 2111
13. สมเด็จพระมหินทราธิราช พ.ศ. 2111 - พ.ศ.2112
วงศ์สุโขทัย
1. สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช พ.ศ. 2112 - พ.ศ.2133
2. สมเด็จพระนเรศวรมหาราช พ.ศ. 2133 - พ.ศ.2148
3. สมเด็จพระเอกาทศรถ พ.ศ. 2148 - พ.ศ.2163
4. เจ้าฟ้าศรีเสาวภาคย์ พ.ศ. 2163 ไม่ครบปี
5. สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม พ.ศ. 2163 - พ.ศ.2171
6. สมเด็จพระเชษฐาธิราช พ.ศ. 2171 - พ.ศ.2173
7. สมเด็จพระอาทิตยวงศ์ พ.ศ. 2173 ครองราชย์36 วัน
วงศ์ปราสาททอง
1. สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง พ.ศ. 2173 - พ.ศ.2198
2. สมเด็จเจ้าฟ้าชัย พ.ศ. 2198 - พ.ศ.2199
3. สมเด็จพระศรีสุธรรมราชา พ.ศ. 2199 ครองราชย์ 3 เดือน
4. สมเด็จพระนารายณ์มหาราช พ.ศ. 2199 - พ.ศ.2231
วงศ์บ้านพลูหลวง
1. สมเด็จพระเพทราชา พ.ศ. 2231 - พ.ศ.2246
2. สมเด็จพระเจ้าเสือ พ.ศ. 2246 - พ.ศ.2151
3. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ พ.ศ. 2251 - พ.ศ.2275
4. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ พ.ศ. 2275 - พ.ศ.2301
5. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอุทุมพร พ.ศ. 2301 ครองราชย์ 2 เดือน
6. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์ พ.ศ. 2301 - พ.ศ.2310
สมัยกรุงธนบุรี
1. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พ.ศ. 2311 - พ.ศ.2325
สมัยรัตนโกสินทร์
ราชวงศ์จักรี
1. พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พ.ศ. 2325 - พ.ศ.2352
2. พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พ.ศ. 2352 - พ.ศ.2367
3. พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. 2367 - พ.ศ.2393
4. พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. 2393 - พ.ศ.2411
5. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. 2411 - พ.ศ.2453
6. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. 2453 - พ.ศ.2468
7. พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. 2468 - พ.ศ.2477
8. พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พ.ศ. 2477 - พ.ศ.2489
9. พระบาทสมเด็จพระภูมิพลอดุลยเดช พ.ศ. 2489 - ปัจจุบัน
ข้อมูลจาก www.baanjomyut.com
วันศุกร์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2555
การเมืองการปกครองของไทยปัจจุบัน
ประเทศไทยมีการปกครองแบบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
ฐานะและพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์
1. ทรงเป็นประมุขของประเทศ
2. เป็นจอมทัพไทย
3. เป็นที่เคารพสักการะของชาวไทย
พระราชอำนาจของกษัตริย์ไทย
1. ทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติทางรัฐสภา
2. ทรงใช้อำนาจบริหารทางคณะรัฐมนตรี
3. ทรงใช้อำนาจตุลาการทางศาล
พระมหากษัตริย์จะทรงลงพระปรมาภิไธยในร่างพระราชบัญญัติที่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาและ
นายกรัฐมนตรีจะเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการทุกครั้ง ศาลจะเป็นผู้พิจารณาคดีในพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์ พระราชอำนาจในการเลือกและแต่งตั้งประธานองคมนตรีและองคมนตรี ประธานรัฐสภาจะเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการในการแต่งตั้ง และประธานองคมนตรีจะเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้ง องคมนตรีคนต่อไป
หน้าที่ขององคมนตรี ถวายคำปรึกษาและความเห็นในพระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์
อำนาจอธิปไตยและการใช้อำนาจ
อำนาจนิติบัญญัติ คือ อำนาจสูงสุดในการออกกฎหมายโดยสถาบันรัฐสภา ในรัฐสภามี 2 สภา คือ
1. สภาผู้แทนราษฎร มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ในอัตราส่วน 1 : 150,000 มีวาระ 4 ปี
2. วุฒิสภา มาจากการแต่งตั้งของพระมหากษัตริย์ มีสมาชิก 2 ใน 3 ของสภาผู้แทนราษฎร มีวาระ 4 ปี
หน้าที่ของรัฐสภา
1. ทำหน้าที่ออกกฎหมาย
2. ทำหน้าที่คัดเลือกรัฐบาลเข้ามาบริหารประเทศ
3. รัฐสภาควบคุมการปฏิบัติงานของรัฐบาล
4.วุฒิสภาหรือวุฒิสมาชิกทำหน้าที่กลั่นกรองพิจารณาร่างกฎหมาย
บทบาทของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือ ส.ส.
1. เลือกคณะรัฐบาลเพื่อบริหารงาน
2. เป็นสื่อกลางระหว่างรัฐบาลกับประชาชน
3. ร่วมกันเสนอแนะ ปรับปรุงและรักษาการปกครองแบบประชาธิปไตยในสังคมให้ดีขึ้น
4. ร่วมกันตรากฎหมาย แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ข้อบังคับของสภา
5. ควบคุมการทำงานของรัฐบาล
6. อนุมัติงบประมาณของแผ่นดิน
อำนาจบริหาร คือ อำนาจในการนำกฎหมายไปบังคับใช้หรือบริหารประเทศโดยรัฐบาล
อำนาจและหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี
1.ถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ว่าจะปฏิบัติ หน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต
2. อุทิศเวลาให้แก่การบริหารราชการแผ่นดิน
3. รับผิดชอบร่วมกับสภาผู้แทนราษฎร
4. มิสิทธิเข้าประชุมสภาผู้แทนราษฎร
5. มีสิทธิขอให้รัฐสภาเปิดอภิปรายทั่วไป
6. มีสิทธิเสนอร่างพระราชบัญญัติ
7. มีอำนาจขอกราบบังคมทูลให้ยุบสภาผู้แทนราษฎร
8.มีอำนาจกราบบังคมทูลแต่งตั้งหรือถอดถอนข้าราชการฝ่ายทหาร พลเรือน ปลัด กระทรวง อธิบดี
9. มีอำนาจกราบบังคมทูลขอให้พระมหากษัตริย์ ประกาศกฎอัยการศึก และพระราชทานอภัยโทษแก่นักโทษได้
อำนาจตุลาการ คือ อำนาจในการตัดสินคดี โดยสถาบันศาล ซึ่งศาลแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ ศาลชั้นต้น ศาล อุทธรณ์ และศาลฎีกา
ผู้พิพากษาและตุลาการ มีอิสระในการพิจารณาพิพากษาคดีให้เป็นไปตามกฎหมาย
-คณะกรรมการตุลาการ มีหน้าที่แต่งตั้ง โยกย้าย ถอดถอน เลื่อนตำแหน่ง เลือนเงินเดือน การลงโทษทั้งทางวินัยแก่ข้าราชการตุลาการ
- คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ทำหน้าที่วินิจฉัยว่าบทบัญญัติของกฎหมายอื่นใดขัดแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ถ้าขัดแย้งกฎหมายนั้นจะนำมาบังคับใช้ไม่ได้ และพิจารณาคุณสมบัติของ ส.ส. วุฒิสภาและรัฐมนตรี การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
1. การบริหารราชการส่วนกลาง ประกอบด้วย
- สำนักนายกรัฐมนตรี
- กระทรวง
- ทบวง
- กรม
2. การบริหารราชการส่วนภูมิภาค ประกอบด้วย
- จังหวัด
- อำเภอ
3. การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย
- องค์การบริหารส่วนจังหวัด
- เทศบาล
- สุขาภิบาล
- กรุงเทพมหานคร
- เมืองพัทยา
- องค์การบริหารส่วนตำบล
พรรคการเมือง การปกครองของประเทศไทย มีพรรคการเมืองหลายพรรค ทำให้เกิดรัฐบาลผสม
การเลือกตั้ง กระบวนการในการเลือกตั้งของประเทศไทย มีลักษณะเป็นแบบผสม ทั้งแบบแบ่งเขตและแบบรวมเขต คือ
จังหวัดใดที่มีผู้แทนได้เกิน 3 คน ใช้วิธีการแบ่งเขต แต่จังหวัดใดที่มีผู้แทนได้ไม่เกิน 3 คน จะใช้แบบวิธีรวมเขต
การปกครองส่วนท้องถิ่น (ประเทศไทย)
เทศบาล โดยทั่วไปหมายถึงท้องถิ่นที่มีความเป็นเมือง หรือมีศูนย์กลางของความเป็นเมืองอย่างเห็นได้ชัดเจน ซึ่งไม่มีความจำเป็นจะต้องเป็นท้องที่ ตามเขตการปกครองส่วนภูมิภาคแต่อย่างใด ท้องที่เทศบาลนั้น อยู่ภายใต้การบริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ชื่อว่า เทศบาล โดยองค์กรของเทศบาล ต้องมีสภาเทศบาล และมีคณะเทศมนตรีหรือนายกเทศมนตรี แล้วแต่กรณี ซึ่งเทศบาลในประเทศไทยแบ่งออกเป็นสามระดับ คือ
- เทศบาลนคร คือเขตท้องถิ่นชุมชนที่มีประชากรรวมกัน 50,000 คนขึ้นไป ทั้งมีรายได้อันสมควรในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติเทศบาล
- เทศบาลเมือง คือเขตท้องถิ่นชุมชนที่เป็นที่ตั้งของศาลากลางจังหวัด หรือท้องถิ่นที่มีประชากรรวมกัน 10,000 คนขึ้นไป ทั้งมีรายได้อันสมควรในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติเทศบาล
- เทศบาลตำบล คือเขตท้องถิ่นชุมชนที่มีประชากรรวมกัน 5,000 คนขึ้นไป ทั้งมีรายได้อันสมควรในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติเทศบาล หรือ เป็นสุขาภิบาลเดิมมาก่อนการยกฐานะสุขาภิบาลเป็นเทศบาลตำบล และแม้ว่า "เทศบาลตำบล" จะมีชื่อเรียกคล้ายกันหรือชื่อเดียวกันกับ "ตำบล" แต่เทศบาลตำบลไม่จำเป็นจะต้องครอบคลุมตำบลเพียงตำบลเดียว หรือไม่จำเป็นต้องครอบคลุมตำบลตามชื่อเทศบาลนั้น เช่น เทศบาลตำบลแม่สาย ครอบคลุมบริเวณเมืองต่อเนื่องระหว่างตำบลเวียงพางคำ และตำบลแม่สาย พื้นที่นอกเหนือท้องที่เทศบาลนี้ มีฐานะเป็นท้องที่ตำบล ซึ่งต่อมาก็ยกขึ้นเป็นเทศบาลภายหลัง
โดยท้องที่เทศบาลทั้งสามรูปแบบนี้ จำเป็นจะต้องมีพระราชกฤษฎีกายกฐานะเขตชุมชนนั้นๆ ขึ้นเป็นเทศบาลในแต่ละระดับชั้นด้วย ดังนั้น ในทางปฏิบัติ ท้องถิ่นบางแห่งอาจจะผ่านเกณฑ์ทั้งด้านประชากร และรายได้แล้ว แต่ยังมีสถานะเป็นองค์กรในระดับที่ต่ำกว่าที่ควรจะเป็นอยู่ เนื่องด้วยยังไม่มีการยกฐานะ
สำหรับ เขตเทศบาลเมือง (บางแห่ง) และ เขตเทศบาลนคร จะแบ่งเขตการปกครองย่อยลงเป็น ชุมชน ซึ่งมีฐานะเท่ากับ หมู่บ้าน ในระบบการปกครองส่วนภูมิภาค โดยชุมชนจะไม่มีตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน และกำนัน ซึ่งเป็นตำแหน่งของระบบบริหาราชการส่วนภูมิภาค และพิเศษสำหรับเขตเทศบาลนครขนาดใหญ่หลายแห่งเช่น นครเชียงใหม่ นครหาดใหญ่ เมืองพัทยา และ นครนนทบุรี มีเขตการปกครองในระดับ แขวง ซึ่งเป็นการรวมชุมชนหลายๆ ชุมชนเข้าด้วยกัน โดยแขวงนี้ ไม่ได้มีอาณาเขตตามเขตตำบลแต่อย่างใด
ท้องที่ตำบลโดยทั่วไปคือส่วนท้องที่ชนบท หรือกึ่งเมือง ที่มีการกระจายตัวขอประชากรอย่างหลวมๆ แต่อาจจะมีเขตชุมชนที่มีประชากรหนาแน่นกว่าจุดอื่นๆ ในท้องที่ด้วย ในทางปฏิบัติ ท้องที่ตำบลคือท้องที่ส่วนที่เหลือจากท้องที่เทศบาล โดยจะมีอาณาเขตครอบคลุมท้องที่ตำบล ตามอย่างการปกครองส่วนภูมิภาคเป็นหลัก แต่หากพื้นที่ส่วนหนึ่งส่วนใดที่อยู่ในเขตท้องที่เทศบาลแล้ว ก็จะอยู่นอกเหนือจากเขตพื้นที่ของท้องที่ตำบล กล่าวคือ หากมีตัวเมืองอยู่ระหว่างกลางของเขตตำบล (ส่วนภูมิภาค) ในสองตำบล ซึ่งเขตตัวเมืองนั้นได้รับการยกฐานะเป็นท้องที่เทศบาลแล้ว พื้นที่ส่วนที่เหลือที่ไม่เต็มตำบลคือท้องที่ตำบล ซึ่งจะอยู่ภายใต้การบริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ชื่อว่า องค์การบริหารส่วนตำบล โดยต้องมีสภาองค์การบริหารส่วนตำบล และมีนายกองค์การบริหารส่วนตำบล เป็นผู้บริหาร ทั้งนี้ องค์การบริหารส่วนตำบล อาจไม่ได้ดูแลท้องที่ตำบลเดียว ในทางทฤษฎีอาจจะดูแลสองตำบลหรือมากกว่าก็ได้ ทั้งนี้ กฎหมายองค์การบริหารส่วนตำบล ได้ระบุจำนวนประชากร ในการจัดตั้งท้องที่บริหารขององค์การบริหารส่วนตำบลไว้
ส่วน องค์การบริหารส่วนจังหวัด มีหน้าที่อุดหนุนท้องถิ่น (เทศบาล และ องค์การบริหารส่วนตำบล) ในการดำเนินกิจการที่ท้องถิ่นไม่สามารถทำได้ โดยอาจจะเป็นโครงการขนาดใหญ่ เกินขอบเขตอำนาจของท้องถิ่น หรืออาจเป็นโครงการ ที่เป็นประโยชน์ส่วนรวมของทุกท้องถิ่นในจังหวัดเดียวกัน เช่น การก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ เป็นต้น
[แก้]สภาท้องถิ่น
สภาท้องถิ่น หรือ สภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วยองค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา องค์การบริหารส่วนตำบล ทำหน้าที่ในการตรวจสอบถ่วงดุลการทำงานของฝ่ายบริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือ ผู้บริหารท้องถิ่น ปกติ สภาท้องถิ่นจะมาจากการเลือกตั้งจากประชาชนในท้องถิ่นโดยตรง มีอำนาจหน้าที่หลายประการตามที่กฎหมายกำหนด เช่น ออกข้อบัญญัติท้องถิ่น ตรวจสอบการทำงานของผู้บริหารท้องถิ่น เป็นต้น
ในบางระบบ สภาท้องถิ่นมีอำนาจในการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่น แต่สำหรับในประเทศไทย การได้มาซึ่งผู้บริหารท้องถิ่น ใช้ระบบการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นโดยตรง
ประวัติการศึกษารัฐศาสตร์สากล
[แก้]สมัยกรีกโบราณ ถึงยุโรปสมัยกลาง (ศควรรษที่ 6 - 5 ก่อนคริตกาล - ราว ศตวรรษ
ที่ 12 - 14)
จารีตของวิชารัฐศาสตร์ก็ไม่ต่างจารีตของวิชาที่วงวิชาการไทยรับสืบทอดมา
จากวงวิชาการในโลกที่ใช้ภาษาอังกฤษคือจะกล่าวอ้างไปถึงงานปรัชญาของ เพลโต และ อริสโตเติล ว่าเป็นงานที่ศึกษารัฐศาสตร์ในยุคเริ่มแรก ทว่าหากกล่าวอย่างเคร่งครัดนั้นในยุคกรีกโบราณมิได้มีการศึกษารัฐศาสตร์ เพราะการศึกษาทุกอย่างของกรีกโบราณจะเรียกว่าเป็นการ "แสวงหามิตรภาพกับปัญญา" (philosophia ปัจจุบันแปลว่าปรัชญา ซึ่งใช้แทนกันเป็นการทั่วไป แต่โดยนัยที่เคร่งครัดแล้วมีความตา่งกัน) อย่างไรก็ตามนักปรัชญากรีกโบราณโดยเฉพาะสายโสคราตีส, เพลโต และอริสโตเติลจะเชื่อว่า การศึกษาการเมืองคือเรื่องที่สำคัญที่สุด (politics is a master of science) การศึกษาปรัชญาโดยใช้การเมืองเป็นศูนย์กลางคือรากฐานของวิชาปรัชญาการเมือง และประวัติศาสตร์ความคิดทางการเมือง
ในสมัยโรมันการศึกษาการเมืองไม่ได้ให้ความสำคัญมากนัก อย่างไรก็ตามมรดกทางความคิดที่สำคัญคือการสร้างระบบกฏหมายที่ต่อมากลายเป็นรากฐานที่สำคัญของวิชานิติศาสตร์ และระบบการบริหารจัดการสาธารณะรัฐที่ต่อมากลายเป็นรากฐานของวิชาการบริหารจัดการสาธารณะ ผลงานที่สำคัญในยุคโรมันคืองานของซิเซโรหลังสิ้นสุดยุครุ่งเรื่องของปรัชญากรีก และการล่มสลายของจักรวรรดิ์โรมัน (โรมันตอนต้นปกครองโดยสภาเรียกว่าสาธารณะรัฐ ส่วนในตอนปลายปกครองโดยจักพรรดิ์จึงเรียกว่าจักรวรรดิ์) ศาสนาคริสต์เข้ามามีอิทธิพลต่อวิธีชีวิตของชาวยุโรปในทุกเรื่อง การศึกษาการเมืองจึงเป็นไปเพื่ออธิบายความว่าเหตุใดมนุษย์ซึ่งเป็นคนบาปตามความเชื่อของศาสนานั้นสามารถปกครองกันเองได้อย่างไร และกษัตริย์มีอำนาจชอบธรรมจากพระเจ้าอย่างไรจึงสามารถปกครองคนบาปได้ ในขณะเดียวกันปรัชญากรีดโบราณได้เติบโตในโลกมุสลิมเป็นอย่างมาก มีการนำปรัชญากรีกไปร่วมอธิบายกับหลักปรัชญามุสลิม และใช้เป็นรากฐานของการจัดการปกครอง ปรัชญากรีกในโลกมุสลิมต่อมามีอิทธิพลอย่างสูงต่อยุโรป โดยเฉพาะแนวคิดมนุษย์นิยมที่ต่อมากลายเป็นรากฐานของการปฎิวัติทางภูมิปัญญาในยุโรป (the age of enlightenment)
ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/รัฐศาสตร์
[แก้]สมัยกรีกโบราณ ถึงยุโรปสมัยกลาง (ศควรรษที่ 6 - 5 ก่อนคริตกาล - ราว ศตวรรษ
ที่ 12 - 14)
จารีตของวิชารัฐศาสตร์ก็ไม่ต่างจารีตของวิชาที่วงวิชาการไทยรับสืบทอดมา
จากวงวิชาการในโลกที่ใช้ภาษาอังกฤษคือจะกล่าวอ้างไปถึงงานปรัชญาของ เพลโต และ อริสโตเติล ว่าเป็นงานที่ศึกษารัฐศาสตร์ในยุคเริ่มแรก ทว่าหากกล่าวอย่างเคร่งครัดนั้นในยุคกรีกโบราณมิได้มีการศึกษารัฐศาสตร์ เพราะการศึกษาทุกอย่างของกรีกโบราณจะเรียกว่าเป็นการ "แสวงหามิตรภาพกับปัญญา" (philosophia ปัจจุบันแปลว่าปรัชญา ซึ่งใช้แทนกันเป็นการทั่วไป แต่โดยนัยที่เคร่งครัดแล้วมีความตา่งกัน) อย่างไรก็ตามนักปรัชญากรีกโบราณโดยเฉพาะสายโสคราตีส, เพลโต และอริสโตเติลจะเชื่อว่า การศึกษาการเมืองคือเรื่องที่สำคัญที่สุด (politics is a master of science) การศึกษาปรัชญาโดยใช้การเมืองเป็นศูนย์กลางคือรากฐานของวิชาปรัชญาการเมือง และประวัติศาสตร์ความคิดทางการเมือง
ในสมัยโรมันการศึกษาการเมืองไม่ได้ให้ความสำคัญมากนัก อย่างไรก็ตามมรดกทางความคิดที่สำคัญคือการสร้างระบบกฏหมายที่ต่อมากลายเป็นรากฐานที่สำคัญของวิชานิติศาสตร์ และระบบการบริหารจัดการสาธารณะรัฐที่ต่อมากลายเป็นรากฐานของวิชาการบริหารจัดการสาธารณะ ผลงานที่สำคัญในยุคโรมันคืองานของซิเซโรหลังสิ้นสุดยุครุ่งเรื่องของปรัชญากรีก และการล่มสลายของจักรวรรดิ์โรมัน (โรมันตอนต้นปกครองโดยสภาเรียกว่าสาธารณะรัฐ ส่วนในตอนปลายปกครองโดยจักพรรดิ์จึงเรียกว่าจักรวรรดิ์) ศาสนาคริสต์เข้ามามีอิทธิพลต่อวิธีชีวิตของชาวยุโรปในทุกเรื่อง การศึกษาการเมืองจึงเป็นไปเพื่ออธิบายความว่าเหตุใดมนุษย์ซึ่งเป็นคนบาปตามความเชื่อของศาสนานั้นสามารถปกครองกันเองได้อย่างไร และกษัตริย์มีอำนาจชอบธรรมจากพระเจ้าอย่างไรจึงสามารถปกครองคนบาปได้ ในขณะเดียวกันปรัชญากรีดโบราณได้เติบโตในโลกมุสลิมเป็นอย่างมาก มีการนำปรัชญากรีกไปร่วมอธิบายกับหลักปรัชญามุสลิม และใช้เป็นรากฐานของการจัดการปกครอง ปรัชญากรีกในโลกมุสลิมต่อมามีอิทธิพลอย่างสูงต่อยุโรป โดยเฉพาะแนวคิดมนุษย์นิยมที่ต่อมากลายเป็นรากฐานของการปฎิวัติทางภูมิปัญญาในยุโรป (the age of enlightenment)
ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/รัฐศาสตร์
การปกครองของประเทศเกาหลีไต้
การเมืองการปกครองของประเทศเกาหลี
หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2491 คาบสมุทรเกาหลีถูกแบ่งเป็นสองส่วนโดยเส้นละติจูดที่ 38 องศาเหนือ (มักเรียกว่าเส้นขนาน 38) โดยสหภาพโซเวียตดูแลเกาหลีเหนือมีการปกครองระบอบสังคมนิยม ส่วนสหรัฐอเมริกาดูแลเกาหลีใต้มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย
สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) ปกครองในระบอบประชาธิปไตย ประมุขของประเทศคือประธานาธิบดี ซึ่งได้รับการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนให้เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร มีนายกรัฐมนตรี ซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยประธานาธิบดีผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา รัฐสภาเป็นองค์กรนิติบัญญัติ และศาลทำหน้าที่ทางตุลาการ ทั้งนี้ เกาหลีใต้มีการแบ่งเขตการปกครองเป็น 9 จังหวัด และ 6 เขตการปกครอง (โซล ปูซาน อินชอน แตกู กวางจู แตชอน)
รัฐธรรมนูญ
เกาหลีใต้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับ แรกเมื่อ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2491 โดยได้มีการปรับปรุงแก้ไขมาโดยตลอดอีก 9 ครั้ง การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งล่าสุดมีขึ้นในปี พ.ศ. 2530 เมื่อรัฐบาลประธานาธิบดีชุน ดู ฮวาน ต้องประสบกับภาวะกดดันทางการเมืองจากพรรคการเมืองต่าง ๆ ซึ่งเรียกร้องให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อให้มีการเลือกตั้งประธานาธิบดี โดยตรง และในที่สุด ประธานาธิบดีชุน ดู ฮวาน ก็ยินยอมให้มีการลงประชามติ แก้ไขรัฐธรรมนูญให้มีการเลือกตั้งประธานาธิบดีโดยตรง โดยอยู่ในตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว (5 ปี) และให้มีการจัดระบบการปกครองท้องถิ่นอิสระเป็นครั้งแรกในรอบ 30 ปี นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญที่ได้รับการแก้ไข ยังได้ยกเลิกอำนาจการยุบสภาของประธานาธิบดี และให้รัฐสภามีอำนาจหน้าที่ดูแลและตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล รวมทั้งระบุว่ากองทัพต้องวางตัวเป็นกลางทางการเมือง
ฝ่ายนิติบัญญัติ
รัฐธรรมนูญกำหนดให้รัฐสภา (National Assembly) เป็นผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติ ซึ่งรัฐสภาของเกาหลีใต้เป็นรูปแบบสภาเดียวประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 299 คน โดยสมาชิกจำนวน 2 ใน 3 มาจากการเลือกตั้งโดยตรง ที่เหลือมาจากการแต่งตั้งโดยจัดสรรตามสัดส่วนของพรรคการเมืองที่ได้รับเลือก ตั้ง สมาชิกรัฐสภาแห่งชาติอยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี (ล่าสุดเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2547) สภาจะเลือกประธาน (Speaker) และรองประธาน (Vice-Speaker) จำนวน 2 คน
อำนาจหน้าที่ของรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญระบุไว้ว่า สามารถถอดถอนนายกรัฐมนตรีและประธานาธิบดีได้ หากสมาชิกรัฐสภา 1 ใน 3 เสนอขอและสมาชิกสภาข้างมากเห็นชอบตามเสนอ ซึ่งในกรณีการถอดถอนประธานาธิบดีนั้น ต้องเสนอโดยเสียงข้างมากและสมาชิกสภา 2 ใน 3 ให้ความเห็นชอบ
ฝ่ายบริหาร
ประธานาธิบดี เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร ได้รับเลือกตั้งโดยตรงจากผู้มีสิทธิออกเสียง โดยมีวาระ 5 ปี และไม่สามารถลงสมัครแข่งขันเป็นครั้งที่ 2 ได้ เพื่อเป็นการป้องกันการขยายอำนาจ ประธานาธิบดีดำรงตำแหน่งประมุขของรัฐ และผู้บัญชาการทหารสูงสุดด้วย รวมทั้งเป็นผู้มีอำนาจประกาศกฎอัยการศึก และมาตรการจำเป็นในยามฉุกเฉิน นอกจากนี้ประธานาธิบดีสามารถเสนอร่างกฎหมายให้รัฐสภาพิจารณาได้ อย่างไรก็ตาม ประธานาธิบดีไม่มีอำนาจยุบสภา
คณะรัฐมนตรี ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี ซึ่งประธานาธิบดีเป็นผู้แต่งตั้งโดยได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา นายกรัฐมนตรีเป็นผู้ช่วยประธานาธิบดีในด้านบริหารประเทศ รวมทั้งมีอำนาจในการพิจารณานโยบายต่าง ๆ ของประเทศ และการเข้าร่วมประชุมรัฐสภา คณะรัฐมนตรีมีจำนวน 20 คน นอกจากนี้ ฝ่ายบริหารยังประกอบด้วย สภาที่ปรึกษาอาวุโส สภาความมั่นคงแห่งชาติ สภาที่ปรึกษาการรวมประเทศ สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจแห่งชาติ คณะกรรมการวางแผนและงบประมาณ คณะกรรมการเกี่ยวกับสิทธิสตรี สภาที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะกรรมการเกี่ยวกับธุรกิจขนาดกลางและเล็ก คณะกรรมการตรวจสอบการดำเนินงานของหน่วยงานต่างๆ ของรัฐบาล และสำนักงานข่าวกรองแห่งชาติ โดยประธานของคณะกรรมการชุดต่าง ๆ ได้รับการแต่งตั้งจากประธานาธิบดี ทั้งนี้ หน่วยงานเหล่านี้ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาแนะนำต่อคณะรัฐบาลด้วย
ฝ่ายตุลาการ
ประกอบด้วยศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา โดยประธานาธิบดีแต่งตั้งประธานศาลฎีกาด้วยความเห็นชอบของรัฐสภา การพิจารณาของศาลกำหนดให้เปิดเผยแก่สาธารณชนทั่วไปได้ ยกเว้นในกรณีที่เห็นว่าจะเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ หรือเป็นเรื่องที่จะสร้างปัญหาในด้านความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อยของ ประชาชนหรือเป็นภัยต่อขวัญของประชาชน คำพิพากษาจำเป็นต้องปิดเป็นความลับ นอกจากนี้ ยังมีศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีหน้าที่ในการพิทักษ์รัฐธรรมนูญ โดยให้ความคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน และมีอำนาจในการพิจารณาว่ากฎหมายฉบับใดที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญให้ถือเป็นโมฆะ (โดยมีขั้นตอนการดำเนินการเริ่มจากศาลรัฐธรรมนูญได้รับการร้องขอจากศาลชั้น ต้นหรือจากกลุ่มบุคคลที่ข้อร้องเรียนได้รับการพิจารณาจากศาลชั้นต้น ให้พิจารณากฎหมายดังกล่าว) อนึ่ง ศาลรัฐธรรมนูญยังเป็นองค์กรที่มีหน้าที่ตัดสินความถูกต้องทางกฎหมาย ของกระบวนการถอดถอนเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐ ได้แก่ ประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรี และผู้พิพากษา รวมทั้งมีอำนาจสั่งยุบพรรคการเมืองตามข้อเสนอของฝ่ายบริหาร หากพบว่าพรรคการเมืองดังกล่าวดำเนินกิจกรรมที่ผิดกฎหมาย
พรรคการเมือง
เมื่อ ธันวาคม พ.ศ. 2538 เกิดการรวมตัวของ 3 พรรคใหญ่ คือ
1. พรรค Democratic Justice Party-DJP
2. พรรค Reunification Democratic Party-RDP และ
3. พรรค New Democratic Republican Party-NDRP และตั้งชื่อว่าพรรค New Korean Party-NKP
ก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดีเมื่อ ธ.ค. 2540 ได้เกิดพรรคใหม่คือ
1. พรรค Grand National Party -GNP (ซึ่งเป็นการรวมตัวของพรรค NKP กับพรรค New Party by the People)
2. พรรค Millennium Democratic Party-MDP ซึ่งมีนาย คิม แด จุง เป็นหัวหน้าพรรค และ
3. พรรค United Liberal Democrats-ULD ซึ่งมีนาย คิม จอง พิล เป็นหัวหน้าพรรค
โดยพรรค MDP กับพรรค ULD ได้ร่วมกันส่งนายคิม แด จุง เข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดี และได้รับชัยชนะ โดยนาย คิม จอง พิล ได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี แต่ต่อมาพรรค ULD ได้ถอนตัวจากการร่วมรัฐบาล ปัจจุบันมีพรรคฝ่ายค้าน (Grand National Party-GNP) และพรรครัฐบาล (Millennium Democratic Party-MDP) และพรรคฝ่ายค้านเสียงส่วนน้อย (United Liberal Democrats-ULD) ทั้งนี้ พรรคฝ่ายค้าน GNP สามารถคุมเสียงข้างมากเด็ดขาดในสภารวม 139 ที่นั่ง ทั้งนี้เมื่อ 15 เม.ย. 2547 มีการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาเกาหลีใต้สมัยที่ 17 โดยเป็นการเลือกสมาชิกรัฐสภาทั้งสิ้น 299 ที่นั่งประกอบด้วยการเลือกตั้งโดยตรง 243 ที่นั่ง และจากสัดส่วนพรรค (party list) 56 ที่นั่ง ผลการนับคะแนนอย่างเป็นทางการพรรค Uri ได้คะแนนเสียงข้างมากส่งผลให้พรรค Uri กลายเป็นฝ่ายครองเสียงข้างมากในรัฐสภาเกาหลีใต้ อย่างไรก็ตาม พรรค Uri ได้พ่ายแพ้ในการเลือกตั้งซ่อม 6 ครั้งในเดือนเมษายน 2548 ทำให้พรรค Uri ไม่ได้ครองเสียงข้างมากในสภาอีกต่อไป นอกจากนี้ ยังได้แพ้ในการเลือกตั้งซ่อมในเดือนตุลาคม 2548 อีก ทำให้เสถียรภาพของรัฐบาลมีปัญหามากขึ้น
หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2491 คาบสมุทรเกาหลีถูกแบ่งเป็นสองส่วนโดยเส้นละติจูดที่ 38 องศาเหนือ (มักเรียกว่าเส้นขนาน 38) โดยสหภาพโซเวียตดูแลเกาหลีเหนือมีการปกครองระบอบสังคมนิยม ส่วนสหรัฐอเมริกาดูแลเกาหลีใต้มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย
สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) ปกครองในระบอบประชาธิปไตย ประมุขของประเทศคือประธานาธิบดี ซึ่งได้รับการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนให้เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร มีนายกรัฐมนตรี ซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยประธานาธิบดีผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา รัฐสภาเป็นองค์กรนิติบัญญัติ และศาลทำหน้าที่ทางตุลาการ ทั้งนี้ เกาหลีใต้มีการแบ่งเขตการปกครองเป็น 9 จังหวัด และ 6 เขตการปกครอง (โซล ปูซาน อินชอน แตกู กวางจู แตชอน)
รัฐธรรมนูญ
เกาหลีใต้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับ แรกเมื่อ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2491 โดยได้มีการปรับปรุงแก้ไขมาโดยตลอดอีก 9 ครั้ง การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งล่าสุดมีขึ้นในปี พ.ศ. 2530 เมื่อรัฐบาลประธานาธิบดีชุน ดู ฮวาน ต้องประสบกับภาวะกดดันทางการเมืองจากพรรคการเมืองต่าง ๆ ซึ่งเรียกร้องให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อให้มีการเลือกตั้งประธานาธิบดี โดยตรง และในที่สุด ประธานาธิบดีชุน ดู ฮวาน ก็ยินยอมให้มีการลงประชามติ แก้ไขรัฐธรรมนูญให้มีการเลือกตั้งประธานาธิบดีโดยตรง โดยอยู่ในตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว (5 ปี) และให้มีการจัดระบบการปกครองท้องถิ่นอิสระเป็นครั้งแรกในรอบ 30 ปี นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญที่ได้รับการแก้ไข ยังได้ยกเลิกอำนาจการยุบสภาของประธานาธิบดี และให้รัฐสภามีอำนาจหน้าที่ดูแลและตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล รวมทั้งระบุว่ากองทัพต้องวางตัวเป็นกลางทางการเมือง
ฝ่ายนิติบัญญัติ
รัฐธรรมนูญกำหนดให้รัฐสภา (National Assembly) เป็นผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติ ซึ่งรัฐสภาของเกาหลีใต้เป็นรูปแบบสภาเดียวประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 299 คน โดยสมาชิกจำนวน 2 ใน 3 มาจากการเลือกตั้งโดยตรง ที่เหลือมาจากการแต่งตั้งโดยจัดสรรตามสัดส่วนของพรรคการเมืองที่ได้รับเลือก ตั้ง สมาชิกรัฐสภาแห่งชาติอยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี (ล่าสุดเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2547) สภาจะเลือกประธาน (Speaker) และรองประธาน (Vice-Speaker) จำนวน 2 คน
อำนาจหน้าที่ของรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญระบุไว้ว่า สามารถถอดถอนนายกรัฐมนตรีและประธานาธิบดีได้ หากสมาชิกรัฐสภา 1 ใน 3 เสนอขอและสมาชิกสภาข้างมากเห็นชอบตามเสนอ ซึ่งในกรณีการถอดถอนประธานาธิบดีนั้น ต้องเสนอโดยเสียงข้างมากและสมาชิกสภา 2 ใน 3 ให้ความเห็นชอบ
ฝ่ายบริหาร
ประธานาธิบดี เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร ได้รับเลือกตั้งโดยตรงจากผู้มีสิทธิออกเสียง โดยมีวาระ 5 ปี และไม่สามารถลงสมัครแข่งขันเป็นครั้งที่ 2 ได้ เพื่อเป็นการป้องกันการขยายอำนาจ ประธานาธิบดีดำรงตำแหน่งประมุขของรัฐ และผู้บัญชาการทหารสูงสุดด้วย รวมทั้งเป็นผู้มีอำนาจประกาศกฎอัยการศึก และมาตรการจำเป็นในยามฉุกเฉิน นอกจากนี้ประธานาธิบดีสามารถเสนอร่างกฎหมายให้รัฐสภาพิจารณาได้ อย่างไรก็ตาม ประธานาธิบดีไม่มีอำนาจยุบสภา
คณะรัฐมนตรี ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี ซึ่งประธานาธิบดีเป็นผู้แต่งตั้งโดยได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา นายกรัฐมนตรีเป็นผู้ช่วยประธานาธิบดีในด้านบริหารประเทศ รวมทั้งมีอำนาจในการพิจารณานโยบายต่าง ๆ ของประเทศ และการเข้าร่วมประชุมรัฐสภา คณะรัฐมนตรีมีจำนวน 20 คน นอกจากนี้ ฝ่ายบริหารยังประกอบด้วย สภาที่ปรึกษาอาวุโส สภาความมั่นคงแห่งชาติ สภาที่ปรึกษาการรวมประเทศ สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจแห่งชาติ คณะกรรมการวางแผนและงบประมาณ คณะกรรมการเกี่ยวกับสิทธิสตรี สภาที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะกรรมการเกี่ยวกับธุรกิจขนาดกลางและเล็ก คณะกรรมการตรวจสอบการดำเนินงานของหน่วยงานต่างๆ ของรัฐบาล และสำนักงานข่าวกรองแห่งชาติ โดยประธานของคณะกรรมการชุดต่าง ๆ ได้รับการแต่งตั้งจากประธานาธิบดี ทั้งนี้ หน่วยงานเหล่านี้ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาแนะนำต่อคณะรัฐบาลด้วย
ฝ่ายตุลาการ
ประกอบด้วยศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา โดยประธานาธิบดีแต่งตั้งประธานศาลฎีกาด้วยความเห็นชอบของรัฐสภา การพิจารณาของศาลกำหนดให้เปิดเผยแก่สาธารณชนทั่วไปได้ ยกเว้นในกรณีที่เห็นว่าจะเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ หรือเป็นเรื่องที่จะสร้างปัญหาในด้านความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อยของ ประชาชนหรือเป็นภัยต่อขวัญของประชาชน คำพิพากษาจำเป็นต้องปิดเป็นความลับ นอกจากนี้ ยังมีศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีหน้าที่ในการพิทักษ์รัฐธรรมนูญ โดยให้ความคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน และมีอำนาจในการพิจารณาว่ากฎหมายฉบับใดที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญให้ถือเป็นโมฆะ (โดยมีขั้นตอนการดำเนินการเริ่มจากศาลรัฐธรรมนูญได้รับการร้องขอจากศาลชั้น ต้นหรือจากกลุ่มบุคคลที่ข้อร้องเรียนได้รับการพิจารณาจากศาลชั้นต้น ให้พิจารณากฎหมายดังกล่าว) อนึ่ง ศาลรัฐธรรมนูญยังเป็นองค์กรที่มีหน้าที่ตัดสินความถูกต้องทางกฎหมาย ของกระบวนการถอดถอนเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐ ได้แก่ ประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรี และผู้พิพากษา รวมทั้งมีอำนาจสั่งยุบพรรคการเมืองตามข้อเสนอของฝ่ายบริหาร หากพบว่าพรรคการเมืองดังกล่าวดำเนินกิจกรรมที่ผิดกฎหมาย
พรรคการเมือง
เมื่อ ธันวาคม พ.ศ. 2538 เกิดการรวมตัวของ 3 พรรคใหญ่ คือ
1. พรรค Democratic Justice Party-DJP
2. พรรค Reunification Democratic Party-RDP และ
3. พรรค New Democratic Republican Party-NDRP และตั้งชื่อว่าพรรค New Korean Party-NKP
ก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดีเมื่อ ธ.ค. 2540 ได้เกิดพรรคใหม่คือ
1. พรรค Grand National Party -GNP (ซึ่งเป็นการรวมตัวของพรรค NKP กับพรรค New Party by the People)
2. พรรค Millennium Democratic Party-MDP ซึ่งมีนาย คิม แด จุง เป็นหัวหน้าพรรค และ
3. พรรค United Liberal Democrats-ULD ซึ่งมีนาย คิม จอง พิล เป็นหัวหน้าพรรค
โดยพรรค MDP กับพรรค ULD ได้ร่วมกันส่งนายคิม แด จุง เข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดี และได้รับชัยชนะ โดยนาย คิม จอง พิล ได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี แต่ต่อมาพรรค ULD ได้ถอนตัวจากการร่วมรัฐบาล ปัจจุบันมีพรรคฝ่ายค้าน (Grand National Party-GNP) และพรรครัฐบาล (Millennium Democratic Party-MDP) และพรรคฝ่ายค้านเสียงส่วนน้อย (United Liberal Democrats-ULD) ทั้งนี้ พรรคฝ่ายค้าน GNP สามารถคุมเสียงข้างมากเด็ดขาดในสภารวม 139 ที่นั่ง ทั้งนี้เมื่อ 15 เม.ย. 2547 มีการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาเกาหลีใต้สมัยที่ 17 โดยเป็นการเลือกสมาชิกรัฐสภาทั้งสิ้น 299 ที่นั่งประกอบด้วยการเลือกตั้งโดยตรง 243 ที่นั่ง และจากสัดส่วนพรรค (party list) 56 ที่นั่ง ผลการนับคะแนนอย่างเป็นทางการพรรค Uri ได้คะแนนเสียงข้างมากส่งผลให้พรรค Uri กลายเป็นฝ่ายครองเสียงข้างมากในรัฐสภาเกาหลีใต้ อย่างไรก็ตาม พรรค Uri ได้พ่ายแพ้ในการเลือกตั้งซ่อม 6 ครั้งในเดือนเมษายน 2548 ทำให้พรรค Uri ไม่ได้ครองเสียงข้างมากในสภาอีกต่อไป นอกจากนี้ ยังได้แพ้ในการเลือกตั้งซ่อมในเดือนตุลาคม 2548 อีก ทำให้เสถียรภาพของรัฐบาลมีปัญหามากขึ้น
ที่มา : http://www.happytokorea.com/index.php?option=com_kunena&func=view&catid=11&id=1702&Itemid=142
การปกครองสมัยอยุธยาตอนต้น
การปกครองสมัยอยุธยาตอนต้น
การปกครองของกรุงศรีอยุธยาตลอดระยะเวลาแห่งการเป็นราชธานีอันยาวนาน มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการปกครองแตกต่างกันแต่ละยุคแต่ละสมัย ซึ่งสามารถแบ่งรูปแบบการปกครองได้เป็น 3 ช่วง คือ สมัยอยุธยาตอนต้น สมัยอยุธยาตอนกลาง และสมัยอยุธยาตอนปลาย
สมัยอยุธยาตอนต้น
ในสม้ยนี้เป็นสมัยของการวางรากฐานอำนาจทางการเมืองการปกครอง รวมทั้งเสริมสร้างความมั่นคงของอาณาจักร ซึ่งยังมีอาณาเขตไม่กว้างขวางมากนัก พระเจ้าอู่ทองทรงวางรากานการปกครองไว้ ดังนี้
1.1 การปกครองส่วนกลาง (ราชธานี) พระมหากษัตริย์แบ่งการปกครองเป็น 4 ส่วน เรียกว่า จตุสดมภ์ ให้แต่ละส่วนมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
1) กรมเวียง (กรมเมือง) มีหน้าที่ดูแลความสงบเรียบร้อยของราษฎรทั่วราชอาณาจักร เช่น ปราบปรามโจรผู้ร้าย นำตัวผู้ทำผิดมาลงโทษ มีเสนาบดี ตำแหน่ง ขุนเวียง หรือ ขุนเมือง เป็นหัวหน้า
2) กรมวัง มีหน้าที่จัดระเบียบเกี่ยวกับราชสำนัก จัดงานพระราชพิธีต่าง ๆ พิพากษาคดีความของราษฎร มีเสนาบดีตำแหน่ง ขุนวัง เป็นผู้รับผิดชอบ
3) กรมคลัง มีหน้าที่จัดเก็บภาษีอากร จัดหารายได้เพื่อใช้ในการบำรุงราชอาณาจักร รับผิดชอบด้านการเงินและการต่างประเทศ การแต่งสำเภาหลวงออกค้าขาย มีเสนาบดีตำแหน่ง ขุนคลัง เป็นผู้รับผิดชอบ
4) กรมนา มีหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับการทำมาหากินของราษฎร เช่น การทำนา ทำไร่ ทำสวน และจัดเตรียมเสบียงอาหารไว้ใช้ในยามศึกสงคราม มีเสนาบดีตำแหน่ง ขุนนา เป็นผู้รับผิดชอบ
1.2 การปกครองส่วนภูมิภาค เป็นการปกครองหัวเมืองที่อยู่นอกเขตราชธานี ซึ่งมีการแบ่งเมืองเป็นระดับชั้น โดยมีกรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลาง
1) เมืองหน้าด่าน (เมืองลูกหลวง) เป็นหัวเมืองที่อยู่รายรอบราชธานีและมีระยะทางไปมาถึงราชธานีได้ภายใน 2 วัน มีความสำคัญในการป้องกันข้าศึกไม่ให้โจมตีถึงราชธานีได้ง่าย พระมหากษัตริย์จะทรงแต่งตั้งให้พระราชโอรสหรือเจ้านายชั้นสูงไปปกครองแทนพระองค์ เพื่อเป็นการแบ่งเบาพระราชภาระด้านการปกครองในสมัยอยุธยาตอนต้นมีเมืองหน้าด่าน ดังนี้
2) หัวเมืองชั้นใน เป็นหัวเมืองที่ถัดจากเมืองหน้าด่านออกไปอีก เป็นเมืองรายรอบตามระยะทางคมนาคม อยู่ไม่ไกลจากราชธานี สามารถติดต่อถึงกันได้สะดวก หัวเมืองชั้นในมีความสำคัญคือ ในยามศึกสงครามจะนำกำลังทหารมาสมทบพระมหากษัตริย์จะทรงแต่งาตั้งเจ้าเมือง กรมการเมือง และคณะกรมการเมืองไปปกครองโดยขึ้นตรงต่อราชธานี หัวเมืองชั้นในที่สำคัญ มีดังนี้
ทิศเหนือ เมืองาพรหมบุรี อินทร์บุรี สิงห์บุรี
ทิศใต้ เมืองเพชรบุรี
ทิศตะวันออก เมืองปราจีนบุรี
ทิศตะวันตก เมืองราชบุรี
3)หัวเมืองชั้นนอก (เมืองพระยามหานคร) เป็นหัวเมืองที่มีขนาดใหญ่อยู่ห่างจากราชธานีออกไปตามทิศทางต่าง ๆ หัวเมืองชั้นนอกจะเป็นเมืองที่คอยปกป้องดูแลอาณาเขตด้านที่ตั้งอยู่ มีเจ้าเมืองเป็นผู้ปกครองสืบทอดต่อ ๆ กันมา แต่ในบางครั้งเพื่อความมั่นคงของราชธานี พระมหากษัตริย์ก็ทรงแต่งตั้งขุนนางจากกรุงศรีอยุธยาไปปกครอง หัวเมืองชั้นนอกที่สำคัญ มีดังนี้
ทิศเหนือ เมืองพิษณุโลก
ทิศใต้ เมืองไชยา เมืองนครศรีธรรมราช เมืองพัทลุง
ทิศตะวันออก เมืองนครราชสีมา เมืองจันทบุรี
ทิศตะวันตก เมืองตะนาวศรี เมืองทวาย
4)หัวเมืองประเทศราช เป็นเมืองที่อยู่ห่างไกลนอกพระราชอาณาเขต มีการปกครองอิสระแก่ตนเอง ชาวเมืองเป็นชาวต่างประเทศ เมืองเหล่านี้มีรูปแบบการปกครองตามวัฒนธรรมเดิมของตน เจ้านายพื้นเมืองมีสิทธิ์ขาดในการปกครองดินแดนของตน แต่ต้องแสดงตนว่ายอมอ่อนน้อมหรือเป็นเมืองประเทศราช โดยการส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายตามกำหนด เป็นการแสดงความจงรักภักดีเมื่อเกิดศึกสงครามก็ส่งกำลังและเสบียงอาหารมาสมทบกับฝ่ายไทย เมืองประเทศราชในสมัยนี้ ได้แก่ เขมร มอญ มะละกา
การปกครองของกรุงศรีอยุธยาตลอดระยะเวลาแห่งการเป็นราชธานีอันยาวนาน มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการปกครองแตกต่างกันแต่ละยุคแต่ละสมัย ซึ่งสามารถแบ่งรูปแบบการปกครองได้เป็น 3 ช่วง คือ สมัยอยุธยาตอนต้น สมัยอยุธยาตอนกลาง และสมัยอยุธยาตอนปลาย
สมัยอยุธยาตอนต้น
ในสม้ยนี้เป็นสมัยของการวางรากฐานอำนาจทางการเมืองการปกครอง รวมทั้งเสริมสร้างความมั่นคงของอาณาจักร ซึ่งยังมีอาณาเขตไม่กว้างขวางมากนัก พระเจ้าอู่ทองทรงวางรากานการปกครองไว้ ดังนี้
1.1 การปกครองส่วนกลาง (ราชธานี) พระมหากษัตริย์แบ่งการปกครองเป็น 4 ส่วน เรียกว่า จตุสดมภ์ ให้แต่ละส่วนมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
1) กรมเวียง (กรมเมือง) มีหน้าที่ดูแลความสงบเรียบร้อยของราษฎรทั่วราชอาณาจักร เช่น ปราบปรามโจรผู้ร้าย นำตัวผู้ทำผิดมาลงโทษ มีเสนาบดี ตำแหน่ง ขุนเวียง หรือ ขุนเมือง เป็นหัวหน้า
2) กรมวัง มีหน้าที่จัดระเบียบเกี่ยวกับราชสำนัก จัดงานพระราชพิธีต่าง ๆ พิพากษาคดีความของราษฎร มีเสนาบดีตำแหน่ง ขุนวัง เป็นผู้รับผิดชอบ
3) กรมคลัง มีหน้าที่จัดเก็บภาษีอากร จัดหารายได้เพื่อใช้ในการบำรุงราชอาณาจักร รับผิดชอบด้านการเงินและการต่างประเทศ การแต่งสำเภาหลวงออกค้าขาย มีเสนาบดีตำแหน่ง ขุนคลัง เป็นผู้รับผิดชอบ
4) กรมนา มีหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับการทำมาหากินของราษฎร เช่น การทำนา ทำไร่ ทำสวน และจัดเตรียมเสบียงอาหารไว้ใช้ในยามศึกสงคราม มีเสนาบดีตำแหน่ง ขุนนา เป็นผู้รับผิดชอบ
1.2 การปกครองส่วนภูมิภาค เป็นการปกครองหัวเมืองที่อยู่นอกเขตราชธานี ซึ่งมีการแบ่งเมืองเป็นระดับชั้น โดยมีกรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลาง
1) เมืองหน้าด่าน (เมืองลูกหลวง) เป็นหัวเมืองที่อยู่รายรอบราชธานีและมีระยะทางไปมาถึงราชธานีได้ภายใน 2 วัน มีความสำคัญในการป้องกันข้าศึกไม่ให้โจมตีถึงราชธานีได้ง่าย พระมหากษัตริย์จะทรงแต่งตั้งให้พระราชโอรสหรือเจ้านายชั้นสูงไปปกครองแทนพระองค์ เพื่อเป็นการแบ่งเบาพระราชภาระด้านการปกครองในสมัยอยุธยาตอนต้นมีเมืองหน้าด่าน ดังนี้
2) หัวเมืองชั้นใน เป็นหัวเมืองที่ถัดจากเมืองหน้าด่านออกไปอีก เป็นเมืองรายรอบตามระยะทางคมนาคม อยู่ไม่ไกลจากราชธานี สามารถติดต่อถึงกันได้สะดวก หัวเมืองชั้นในมีความสำคัญคือ ในยามศึกสงครามจะนำกำลังทหารมาสมทบพระมหากษัตริย์จะทรงแต่งาตั้งเจ้าเมือง กรมการเมือง และคณะกรมการเมืองไปปกครองโดยขึ้นตรงต่อราชธานี หัวเมืองชั้นในที่สำคัญ มีดังนี้
ทิศเหนือ เมืองาพรหมบุรี อินทร์บุรี สิงห์บุรี
ทิศใต้ เมืองเพชรบุรี
ทิศตะวันออก เมืองปราจีนบุรี
ทิศตะวันตก เมืองราชบุรี
3)หัวเมืองชั้นนอก (เมืองพระยามหานคร) เป็นหัวเมืองที่มีขนาดใหญ่อยู่ห่างจากราชธานีออกไปตามทิศทางต่าง ๆ หัวเมืองชั้นนอกจะเป็นเมืองที่คอยปกป้องดูแลอาณาเขตด้านที่ตั้งอยู่ มีเจ้าเมืองเป็นผู้ปกครองสืบทอดต่อ ๆ กันมา แต่ในบางครั้งเพื่อความมั่นคงของราชธานี พระมหากษัตริย์ก็ทรงแต่งตั้งขุนนางจากกรุงศรีอยุธยาไปปกครอง หัวเมืองชั้นนอกที่สำคัญ มีดังนี้
ทิศเหนือ เมืองพิษณุโลก
ทิศใต้ เมืองไชยา เมืองนครศรีธรรมราช เมืองพัทลุง
ทิศตะวันออก เมืองนครราชสีมา เมืองจันทบุรี
ทิศตะวันตก เมืองตะนาวศรี เมืองทวาย
4)หัวเมืองประเทศราช เป็นเมืองที่อยู่ห่างไกลนอกพระราชอาณาเขต มีการปกครองอิสระแก่ตนเอง ชาวเมืองเป็นชาวต่างประเทศ เมืองเหล่านี้มีรูปแบบการปกครองตามวัฒนธรรมเดิมของตน เจ้านายพื้นเมืองมีสิทธิ์ขาดในการปกครองดินแดนของตน แต่ต้องแสดงตนว่ายอมอ่อนน้อมหรือเป็นเมืองประเทศราช โดยการส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายตามกำหนด เป็นการแสดงความจงรักภักดีเมื่อเกิดศึกสงครามก็ส่งกำลังและเสบียงอาหารมาสมทบกับฝ่ายไทย เมืองประเทศราชในสมัยนี้ ได้แก่ เขมร มอญ มะละกา
กฎหมายใหม่ เมาแล้วขับ คุก 10 ปี
กฎหมายใหม่ เมาแล้วขับ คุก 10 ปี
ทนายคลายทุกข์ขอนำข่าวเกี่ยวกับพรบ.จราจรทางบก พ.ศ. 2550 ฉบับที่ 7 ซึ่งมีบทลงโทษขี้เมาขับรถ จำคุกถึง 10ปี ปรับ 200,000 บาทและเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ ซึ่งกฎหมายดังกล่าวมีผลใช้บังคับแล้วตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคม 2550 และช่วงนี้ตำรวจจราจรก็จะเริ่มเข้มงวด ขอให้เพื่อนสมาชิกใช้ความระมัดระวัง อย่าขับรถถ้าเมาสุรา ผมไม่มีเวลาเอาโอเลี้ยงกับข้าวผัดไปเยี่ยม ต้องพึ่งพาคุณชูวิทย์นะครับ
โทษใหม่ 'เมาแล้วขับ'ชนคนตายไม่ใช่แค่เป็นพรีเซ็นเตอร์
เพิกถอนใบขับขี่ ติดคุก 10 ปี ถูกปรับ 2 แสนบาท
คนไทยได้รับการจัดลำดับให้เป็นประเทศที่บริโภคสุรามากเป็นอันดับ 5 ของโลก นับเป็นท็อปชาร์ตที่ประเทศไหน ๆ ในโลกก็คงไม่พิสมัยจะให้มีชื่อปรากฏเป็นลำดับต้น ๆ
ผลพวงอันเนื่องมาจากการดื่มสุราเป็นที่ทราบกันดีว่านำมาซึ่งความสูญเสียหลาย ๆ อย่าง ไม่ว่าจะเป็นทางด้านเศรษฐกิจ ปัญหาสุขภาพและปัญหาสังคมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมาจากการขาดสติที่มีสาเหตุมาจากการดื่มสุรา ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ การเกิดอุบัติเหตุทางถนน ทุกครั้งที่มีเทศกาลรื่นเริงก็จะกลายเป็นเทศกาลนับศพกันอย่างที่เห็น มาตรการที่ภาครัฐได้ออกมารณรงค์ทั้งในการป้องกันและการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด ก็ยังไม่สามารถลดสถิติการตายและการบาดเจ็บของประชาชนในช่วงที่มีเทศกาลรื่นเริงที่มากับความเมาได้ ซึ่งส่วนหนึ่งอาจมาจากกฎหมายที่บังคับใช้อยู่ไม่รุนแรงจึงไม่ส่งผลกระตุ้นความสำนึกรับผิดชอบของคนใช้รถใช้ถนนได้เหมือนประเทศอื่น ที่เพียงแค่ตรวจพบแอลกอฮอล์ยังไม่ไปชนใคร ก็มีโทษปรับเป็นหลักหมื่นบาท จึงทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยมีสำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็นแม่งานหลัก ร่วมกับกระทรวงยุติธรรม ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน มูลนิธิเมาไม่ขับและพันธมิตรในการลดอุบัติเหตุ ได้เสนอแก้ไขเพิ่มโทษผู้ขับขี่ที่เมาสุราขณะขับรถ โดยได้ผลักดันกฎหมายดังกล่าวมาตั้งแต่ปี 2546 และมีการนำเรื่องนี้เข้าสู่การพิจารณา ปรับปรุงแก้ไขมาหลายครั้งตลอด 4 ปี ที่ผ่านมา ในที่สุดการแก้ไขกฎหมายก็นำมาสู่การประกาศใช้อย่างเป็นทางการแล้ว
พล.ต.ต.ภาณุ เกิดลาภผล รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) ดูแลงานจราจร เปิดเผยว่า จากที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้ผ่านความเห็นชอบ แก้ไข พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2550 (ฉบับที่ 7) เกี่ยวกับการเพิ่มโทษผู้ขับขี่ขณะเมาสุรา ซึ่งกฎหมายดังกล่าวได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาและมีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่วันที่ 30 ธ.ค. หรือในช่วงปลายปี 2550 โดยในการประชุมบริหารงานจราจรประจำเดือนมกราคม ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาได้กำชับให้เจ้าหน้าที่ตำรวจซึ่งมีหน้าที่โดยตรงในการตั้งด่านตรวจจับผู้ขับขี่ที่มึนเมาสุราได้แจ้งข้อมูลให้ประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนนได้ทราบ ซึ่ง การกำหนดโทษตามกฎหมายใหม่นี้จะมีโทษสูงตามลำดับความรุนแรงของอุบัติเหตุ ไม่เหมือนกับกฎหมายเก่าที่ผ่านมา ที่ไม่ว่าผู้ขับขี่รถจะเพียงแค่มีแอลกอฮอล์เกินกว่าปกติ หรือไปก่อเหตุชนคนตาย ก็มีโทษตามพ.ร.บ.จราจรทางบกเท่ากันคือ จำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับตั้งแต่ 2,000-10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลมีคำสั่งคุมประพฤติ ทำงานบริการสังคม 12-48 ชั่วโมง ถูกบันทึกคะแนน 40 คะแนน ยึดใบอนุญาตขับขี่ 15 วัน จะเห็นได้ว่ากฎหมายดังกล่าว ยังมีความปรานีต่อผู้กระทำผิดมาก เพราะศาลจะใช้ดุลพินิจตัดสินโทษอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือจะสั่งทั้งจำคุกและปรับก็ได้ แต่ในกฎหมายใหม่นี้ จะมีโทษในเรื่องของการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่เข้ามาด้วยเป็นคำสั่งที่มีผลในทุกกรณี ไม่ว่าจะเพียงแค่ขับขี่รถในขณะเมาสุรา หรือการขับขี่ในขณะเมาแล้วไปก่ออุบัติเหตุทำให้ผู้อื่นบาดเจ็บหรือเสียชีวิต ซึ่งคำสั่งในเรื่องการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ก็จะมีระยะเวลายาวนานขึ้นตามระดับความรุนแรงของอุบัติเหตุ และศาลมีอำนาจตัดสินถึงขั้นเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่เลยก็ได้ ซึ่งหมายถึงบุคคลนั้นจะไม่สามารถขับขี่รถได้อย่างถูกกฎหมายอีกต่อไป สำหรับคนที่มีอาชีพในการขับรถแล้วยิ่งต้องเพิ่มความตระหนักในเรื่องนี้เพราะมิฉะนั้นก็คือหมดหนทางทำมาหากินด้วยการขับรถเป็นการถาวร
พล.ต.ต.ภาณุ กล่าวต่อว่า จากสถิติการตรวจจับผู้ขับขี่ที่ดื่มสุราในพื้นที่กรุงเทพฯ ปี 2550 ตั้งแต่เดือน ม.ค.-ธ.ค. พบว่า มีการเรียกตรวจวัดทั้งหมด 117,581 ราย พบมีแอลกอฮอล์ 23,282 ราย และมีแอลกอฮอล์เกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ต้องส่งดำเนินคดี ทั้งหมด 15,811 ราย เป็นชาย 15,668 ราย หญิง 143 ราย และแบ่งตามประเภทรถ เป็นผู้ขับขี่รถยนต์ 7,642 ราย รถจักรยานยนต์ 7,953 ราย และรถบรรทุก 217 ราย จากสถิติดังกล่าวจะเห็นได้ว่ามีคนเมาถึงขั้นสุ่มเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ (แอลกอฮอล์เกิน 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์) ที่ถูกจับกุมเฉลี่ย 1,317 ราย ต่อเดือน และมีคนที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แล้วยังขับรถ ที่ตรวจ พบเฉลี่ย เกือบ 2,000 รายต่อเดือน และยังมีผู้ขับขี่นอกจากนี้ที่เมาสุราแต่ไม่ได้ผ่านในเส้นทางที่ตำรวจตั้งด่านอีก ซึ่งทำให้ผู้ที่ใช้รถใช้ถนนร่วมกันเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้ทุกเมื่อ ในขณะที่สถิติการแจ้งอุบัติเหตุทั้งปี 46,899 ครั้ง มีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุ 671 ราย บาดเจ็บสาหัส 1,742 ราย บาดเจ็บเล็กน้อย 18,855 ราย และคิดเป็นมูลค่าความเสียหายถึง 369.83 ล้านบาท ซึ่งเป็นเพียงความสูญเสียของกรุงเทพฯจังหวัดเดียวในปีเดียวเท่านั้น
การแก้ไขปรับปรุงเพิ่มโทษ ?เมาแล้วขับ? ครั้งนี้ คงจะทำให้คนใช้รถใช้ถนนมีสติในการขับขี่มากขึ้น เพราะหากขับไปชนคนตายเข้า งานนี้แม้จะเป็นคนดังก็คงไม่ใช่แค่เป็นพรีเซ็นเตอร์รณรงค์ลดอุบัติเหตุเท่านั้น แต่จะหมดสิทธิขับรถไปตลอดชีวิต และมีสิทธิติดคุกถึง 10 ปี และถูกปรับสูงถึง 200,000 บาท.
ขอขอบคุณเนื้อหาข่าวจากhttp://www.dailynews.co.th/
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)